สังขละบุรี สัมผัสวิถีมอญ กับ 15 จุด เที่ยว กิน พัก

สังขละบุรี อำเภอที่ติดต่อกับชายแดนพม่า เมืองชายแดนแห่งนี้ รายล้อมด้วยธรรมชาติและขุนเขาอันเขียวขจี มีแม่น้ำซองกาเลียจากต้นกำเนิดในประเทศพม่าไหลพาดผ่าน แบ่งแผ่นดินอำเภอสังขละบุรีออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งหนึ่งคือ ฝั่งไทย อีกฝั่งหนึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวมอญทั้งที่ตั้งรกรากมานานนับร้อยปี  ทั้งสองเชื้อชาติมีความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สังขละบุรีเป็นเมืองเล็กๆน่ารัก ที่ชาวบ้านทั้งไทยมอญ ยังคงใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และรักษาวัฒนธรรมแบบมอญดั้งเดิมไว้ ทั้งประเพณี การแต่งกาย อาหาร ผู้คนเป็นมิตร ประกอบกับความเป็นธรรมชาติที่ยังคงมีความบริสุทธิ์ ทั้งสายน้ำ ต้นไม้ ขุนเขา ทำให้สังขละบุรี ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางแห่งเมืองกาญจนบุรี ที่หลายคนตั้งใจมาเยือนให้ได้สักครั้ง  

 

สังขละบุรี 

 

สังขละบุรี เที่ยวช่วงไหนดี 

สังขละบุรี สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่ฤดูที่สวยงาม คือ ฤดูฝน เพราะมีเขียวขจี และมีโอกาสได้เห็นสายหมอกฝนปกคลุม สะพานมอญและทิวเขา ทุกพื้นที่มีความเขียวสดชื่น  ส่วนฤดูหนาว อาจได้มีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศของพระอาทิตย์ขึ้น และแสงสวยในยามเช้า 

 

จุดแวะเที่ยวสังขละบุรี

 

สะพานมอญ สะพานไม้เชื่อมความสัมพันธ์ของชาวสังขละบุรี

สะพานไม้อุตตมานุสรณ์  หรือที่เรียกกันว่า สะพานมอญ จุดเริ่มต้นของสะพานแห่งนี้ คือ หลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้ดำเนินการสร้าง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนไทย กะเหรี่ยงและมอญได้สัญจรไปมาหาสู่กัน เพื่อเป็นการสร้า ความสัมพันธ์ของคนทั้งสามกลุ่ม สะพานมอญเป็นจุดท่องเที่ยวที่เรียกว่ากลายเป็นสัญลักษณ์ของสังขละบุรี  นักท่องเที่ยวจะนิยมเดินชมสะพานเพื่อชมบรรยากาศ รวมถึงชมวิถีชีวิตของชาวไทย และมอญที่เดินข้ามไปมาหากันบนสะพานแห่งนี้ โดยเฉพาะในยามเช้าสะพานมอญค่อนข้างจะคึกคัก ร้านค้า ร้านอาหารบริเวณสะพานมอญ เปิดให้บริการในตอนเช้าเป็นส่วนใหญ่  เพราะมีกิจกรรมตักบาตรและชาวมอญจะแต่งการนุ่งชุดแบบมอ ทูนหม้อเดินไปมา เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูป  

 

สังขละบุรี

สังขละบุรี 

สะพานมอญ

 

เดินชมวิวบนสะพานมอญ มองเห็นบ้านเรือนและแพริมน้ำ 

 

สะพานมอญ

สังขละบุรี

 

 

หมู่บ้านมอญ  ตักบาตรยามเช้า ชมวิถีชีวิตชาวมอญ

อีกหนึ่งสีสันของการมาเที่ยวสังขละบุรี คือ กิจกรรมตักบาตร ชมวิถีชีวิตของชาวมอญ นั่งทานอาหารเช้า ชมบรรยากาศวิถีชีวิตของผู้คน ที่หมู่บ้านมอญ เสน่ห์ของหมู่บ้านมอญ คือ วัฒนธรรมแบบมอญที่ยังคงอยู่ไม่ได้สูญหายไปกับ กาลเวลา ชาวบ้านยังคงแต่งกายแบบมอญ มาตักบารตรยามเช้าร่วมกับนักท่องเที่ยว นอกจากการแต่งกายที่เห็นปุ๊บก็รู้ทันทีว่าเป็นสาวชาวมอญจริงแท้แน่นอน คือ การเทินสิ่งของไว้บนศีรษะอย่างชำนาญ ซึ่งสาวๆรวมทั้งเด็กน้อยชาวมอญ มักจะมาพร้อมกับใบหน้าที่ทาด้วยแป้งทะนาคาพม่า เครื่องสำอางจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสีเหลืองนวล บนพวงแก้มเป็นภาพที่น่าประทับใจเมื่อได้เห็น

 

 หมู่บ้านมอญหมู่บ้านมอญ

 

สีสันในยามเช้า เด็กน้อยชาวมอญ แต่งตัวในชุดมอญ ทูนหม้อบนหัวอย่างชำนาญ พร้อมวาดลวดลายบนใบหน้าด้วยแป้งพม่า 

 

หมู่บ้านมอญ 

หมู่บ้านมอญ

หมู่บ้านมอญ 

 

กิจกรรมตักบาตรในยามเช้า นักท่องเที่ยวจะแต่งกายด้วยชุดมอญ ตักบาตรร่วมกับชาวบ้าน 

 

หมู่บ้านมอญ

หมู่บ้านมอญ

 

 

 

ล่องเรือชมวิวริมน้ำ  เที่ยวชมวัดเก่า  

มาถึงสังขละบุรี หากไม่ได้มาล่องเรือชมวิถีแห่งสายน้ำ ชมวิวบ้านเรือน วิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ทั้งสองฟากฝั่ง  เที่ยววัดวิเววังการามเก่า และวัดสมเด็จเก่า  ถือว่ายังมาไม่ถึง กิจกรรมาล่องเรือสามารถล่องได้ตลอดทั้งวัน แต่ช่วงเวลาที่นิยม คือ ช่วงเวลาเช้าเพราะอากาศไม่ร้อนมาก และยังมีโอกาสได้เห็นสายหมอกบางในยามเช้าอีกด้วย  นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือหางยาวไปเยี่ยมชมวัดเก่า  โดยใช้บริการเรือหางยาวที่จอดให้บริการบริเวณสะพานมอญ มีเรือให้บริการหลายลำราคาลำละ 300-500 บาท นั่งได้ 5 – 7 คน

 

อัตราค่าบริการ

-นั่งเรือชมวัด 3 วัด ราคา 500 บาท ได้แก่ วัดวิเววังการามเก่า วัดสมเด็จเก่า วัดศรีสุวรรณ ใช้เวลาประมาณไม่เกิน 2-3 ชั่วโมง (รวมถ่ายภาพ)

-นั่งเรือชมวัดเดียว วัดวิเววังการาม ราคา 300 บาท ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง  เพราะวัดอยู่ค่อนข้างใกล้

 

ล่องเรือชมวิวสังขละบุรี

 

 

ระหว่างล่องเรือชมบรรยากาศสองริมฝั่งแม่น้ำ ได้เห็นบ้านเรือน และวิถีการดำเนินชีวิตของชาวมอญ และยอดเจดีย์พุทธคยาที่โดดเด่น

 

สังขละบุรี

เจดีย์พุทธคยา

 

วัดวิเววังการราม (เก่า)

 

วัดวังก์วิเวการาม เก่า เป็นวัดเดิมที่หลวงพ่ออุตตมะและชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างขึ้น ในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำสามสาย คือ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำ รันตี ไหลมาบรรจบกัน ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างเขื่อนเขาแหลมทำให้น้ำท่วมตัวอำเภอสังขละบุรีเก่ารวมทั้งวัดนี้ด้วย หลวงพ่อจึงได้ย้ายมาสร้างวัดมาอยู่บนเนินเขา ส่วนวัดเดิมได้จมอยู่ใต้น้ำมานานนับสิบปี ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนมีนาคม-สิงหาคม น้ำจะลดจนตัวโบสถ์โผล่พ้นน้ำทั้งหมด สามารถนั่งเรือและขึ้นไปเดินเที่ยวชมโบสถ์ได้

 

วัดวิเววังการราม (เก่า)

วัดวิเววังการราม (เก่า)

วัดวิเววังการราม (เก่า)

วัดวิเววังการราม (เก่า)

 

วัดสมเด็จ (เก่า)

 

วัดสมเด็จ (เก่า) เป็นอุโบสถของวัดสมเด็จเก่าที่ถูกทิ้งร้าง เมื่อคราวย้ายเมืองสังขละบุรี ตอนที่เริ่มมีการสร้างเขื่อนเขาแหลม (เขื่อนวชิราลงกรณ์ในปัจจุบัน) วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ ไม่ได้จมอยู่ใต้น้ำ ภายในอุโบสถมีพระประธานสภาพยังค่อนข้างสมบูรณ์ รอบตัวโบสถ์มีต้นไทรใหญ่ปกคุลมดู ขลัง และเก่าแก่งดงามยิ่งนัก

 

วัดสมเด็จ (เก่า)

วัดสมเด็จ (เก่า)

วัดสมเด็จ (เก่า)

 

 

วัดวังก์วิเวการาม (วัดหลวงพ่ออุตตะมะ)

 

วัดวังก์วิเวการาม  วัดศูนย์รวมจิตใจใจของชาวสังขละบุรี สถานที่สำคัญภายในวัด ประกอบด้วย ศาลาประดิษฐานสังขารหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งบรรจุสังขารของหลวงพ่อไว้ในปราสาทมอญสวยงาม เป็น ที่จำพรรษาของหลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งกระเหรี่ยง และพม่า ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เคารพนับถือ ประวัติการสร้างวัดวังก์วิเวกการามในปี พ.ศ. 2499 หลวงพ่ออุตตมะร่วมกับชาวบ้านที่เป็นชาวกะเหรี่ยง และชาวมอญได้พร้อมใจกันสร้างศาลาวัดขึ้น ปัจจุบันหลวงพ่ออุตตมะได้ละสังขารไปแล้ว แต่ศิษยานุศิษย์ยังเก็บสังขารของท่านไว้ให้นักท่องเที่ยวได้มากราบสักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล

 

วัดวังก์วิเวการาม

วัดวังก์วิเวการาม

 

เจดีย์พุทธคยา

เจดีย์พุทธคยา เจดีย์สีทององค์ใหญ่ตั้งโดดเด่น มองเห็นจากริมน้ำ บนยอดเจดีย์ประดับด้วยฉัตรทองคำหนัก 400 บาท  ที่หลวงพ่ออุตตมะอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา ที่หลวงพ่ออุตตามะให้สร้างจำลองขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกนิ้วหัวแม่มือขวาของพระพุทธเจ้าไว้เป็นที่สักการะของพุทธศาสนิกชน เจดีย์แบบพุทธคยา มีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส บริเวณใกล้กับเจดีย์พุทธคยาจำลอง มีร้านจำหน่ายสินค้าจากพม่าหลายร้านจำพวก เครื่องประดับผ้าแป้งพม่า เครื่องไม้ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการจัดงานคล้ายวันเกิดหลวง พ่ออุตตมะ ในงานมีกิจกรรมต่างๆประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา การแข่งขันชกมวยคาดเชือก การแสดงของชมรมวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การรำแบบมอญ การรำตงของชาวกะเหรี่ยง และในงานประชาชนจะพร้อมใจกันแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญ และจัดเตรียม สำรับ อาหารทูนบนศีรษะไปถวายพระสงฆ์ที่วัด

 

เจดีย์พุทธคยา

เจดีย์พุทธคยา

เจดีย์พุทธคยา

เจดีย์พุทธคยา

 

น้ำตกเกริงกาเวีย

น้ำตกเกริงกระเวีย ตั้งอยู่บนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข323  ตั้งอยู่ริมถนน ก่อนถึงเมืองสังขละบุรี ประมาณ 1 ชั่วโมง สามารถแวะเที่ยวและพักรถในขาไปและขากลับได้ บริเวณน้ำตกได้มีการปรับแต่งภูมิทัศน์ที่ค่อนข้างสวยงาม มีร้านกาแฟและร้านอาหารตามสั่ง ที่อยู่ติดกับตัวน้ำตก สามารถแวะทานรองท้องก่อนเดินทาง เนื่องจากตัวน้ำตกอยู่ติดกับถนนจึงทำให้เป็นน้ำตกที่เที่ยวได้ง่าย เพียงแค่จอดรถและไปเก็บบรรยากาศ โดยมีการจัดทำทางเดินเลียบน้ำตกไว้หรือหากใครอยากลงเล่นน้ำเย็นๆ ก็สามารถลงเล่นได้

 

น้ำตกเกริงกระเวีย

น้ำตกเกริงกระเวีย

น้ำตกเกริงกระเวีย

 

ร้านอาหาร คาเฟ่  สังขละบุรี

 

หมูจุ่มพม่า

 

หมูจุ่มพม่า ตำนานความแปลกและเด็ดแห่งสังขละบุรี กับหมู และเครื่องในต่างๆ เสียบไม้ จุ่มลงในหม้อน้ำซุปรสหมอกลมกล่อม จิ้มกับน้ำจิ้มซีฟู้ด และน้ำจิ้มแดง แบบพม่าสูตรเด็ด ที่ขายเพียงไม้ละ 1 บาท มองผิวเผินหลายคนอาจไม่กล้ากิน เพราะมีทั้งเนื้อ เครื่องใน ที่จุ่มรวมกันในหม้อ เนื้อหมูและเครื่องใน ต้มมาจนสุก นุ่ม และไม่มีกลิ่นคาวใดๆ ยิ่งได้จิ้มกับน้ำจิ้มซดน้ำซุปไปด้วย ถ้าได้ลอง  1 ไม้รับรองว่าจะต้องมีต่อไปเรื่อยๆ เป็นสิบไม้ ความรู้สึกของการทานเนื้อหมู เหมือนทานหูหมูประมาณนั้น ส่วนคนที่ท่านเครื่องในได้ มีทั้งไส้ ตับ และลิ้น ซึ่งแต่ละอย่างต้มมาอย่างดี ร้านหมู่จุ่มที่สังขละบุรี มีหลายร้าน ซึ่งตั้งอยู่ในย่านถนนคนเดินสังขละบุรี เปิดให้บริการในช่วงเย็น ประมาณ 4 โมงเป็นต้นไป แนะนำร้าน ครอบครัว  ตั้งอยู่บนถนนคนเดิน ร้านนี้อร่อย เนื้อทุกอย่างนุ่ม ไม่มีกลิ่นคาว และอีกหนึ่งเมนูที่อร่อยมากจนต้องสั่งเพิ่ม คือ ยำสปาเก็ตตี้พม่าใส่หมู รสชาติกลมกล่อมนัวมาก

 

หมูจุ่มพม่า

หมูจุ่มพม่า

หมูจุ่มพม่า

หมูจุ่มพม่า

 

โจ๊กนั่งยอง

หากมาเดินเล่นที่ตลาดมอญในยามเช้า จะต้องมาทานอาหารเช้าด้วย มีร้านอาหารเช้าให้บริการหลายร้าน แต่ร้านดัง ที่นักท่องเที่ยวมาทานกันเยอะ คือ ร้านโจ๊กนั่งยอง ที่จัดร้านได้น่ารัก ให้นั่งยองๆบนเก้าอี้ จึงกลายเป็นที่มาของชื่อร้าน  ร้านนี้เปิดเฉพาะในเวลาเช้า จนถึงประมาณ 10 โมง ขายอาหารเช้า ทั้งโจ๊ก ปลาท่องโก๊ โรตีมอญ ไข่ลวก ชา กาแฟร้อน พร้อมหมี่ขาวกรอบใส่หม้อ ขิง ผัก  ที่วางอยู่บนโต๊ะให้ใส่ในโจ๊ก เติมได้ไม่อั้น

 

โจ๊กนั่งยอง

โจ๊กนั่งยอง

 

ร้านป้าหยิน

อีกหนึ่งร้านอาหารเช้าที่อยู่คู่กับสังขละบุรีมายาวนาน  ร้านป้าหยิน ตั้งอยู่ตรงข้ามกับร้านโจ๊กนั่งยอง เมนูเด็ดของทางร้าน คือ ขนมจีนมอญน้ำยาหยวกกล้วยดั้งเดิม น้ำยาปลา  ขนมจีนแกงฮังเลหมู อาหารพื้นบ้านรสเด็ดของสังขละบุรี   โจ๊ก นอกจากนี้ก็ยังมีเมนู ชา กาแฟ และไข่ลวก ร้านป้าหยินเปิดเฉพาะในช่วงเช้าเช่นกัน พอเริ่มสายนักท่องเที่ยวน้อยลง ร้านก็จะเริ่มปิด

 

ร้านป้าหยิน

 

 

Café Green By Forgetmenot

จิบกาแฟชมวิวสะพานมอญที่ Café Green By Forgetmenot Faya Café  คาเฟ่บรรยากาศสุดชิลแห่งสังขละบุรี ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาติดริมน้ำ  มองเห็นสะพาน ตัวร้านยังมีมุมให้เลือกนั่งทั้งด้านในร้านแอร์เย็น และเอาท์ดอร์ชมวิวริมแม่น้ำ พร้อมจัดมุมถ่ายรูปสวย ไว้ให้สายถ่ายรูปหลายมุม ในส่วนของอาหารเครื่องดื่มจัดเต็มมาทั้งคาวหวาน พร้อมเมนูพิเศษในช่วงวันหยุดอย่างโดนัทนุ่มๆ สอดไส้ไอศกรีมหลากหลายรสชาติ

ที่อยู่  85/2  ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี  71240

เปิดให้บริการ  07:00 – 20:00 น.

โทร  034 595 015

Facebook : Café Green By Forgetmenot

 

 

Café Green By ForgetmenotCafé Green By Forgetmenot

Café Green By Forgetmenot

Café Green By Forgetmenot

 

 

Wangka Café

 

Wangka Café คาเฟ่สังขละบุรีกลางป่าในโรงแรมวังกะ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากสะพานมอญ เป็นคาเฟ่บรรยากาศเงียบสงบ สุดชิลและร่มรื่นได้ขนาดนี้ แค่เดินเข้าไปในร้านจะพบกับต้นไม้สีเขียวนานาชนิด ตัดกับโทนสีน้ำตาล ดำ ของร้านทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ตัวร้านมีมุมให้เลือกนั่งหลายมุมที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัว รวมถึงเมนูเครื่องดื่ม ของหวาน อาหารทานเล่น พร้อมเมนูเด็ดของทางร้านอย่าง ครอฟเฟิลสูตรพิเศษของทางร้านการันตีความอร่อยที่เห็นสั่งกันทุกโต๊ะ รวมถึงครัวซองต์เนยสด สูตรต้นตำหรับสไตส์ฝรั่งเศส ที่นำเข้าทั้งแป้งและเนยสดจากฝรั่งเศสโดยตรง ให้ความกรอบอร่อย หอมเนยไม่เหมือนใคร

เปิดให้บริการ : 08:00 – 17:00 น.

โทร  092-261-6519

Facebook : Wangka Café

 

Wangka Café

Wangka Café

 

Niche Café

คาเฟ่สังขละบุรีสไตล์มินิมอลสีขาวสะดุดตา ตั้งอยู่ติดริมถนนหลักเส้นทางไปวัดหลวงพ่ออุตตมะและสะพานมอญ ตัวคาเฟ่แม้จะเป็นร้านเล็กๆ แต่มีมุมให้นั่งถ่ายรูปชิคหลายมุม มีที่นั่งให้เลือกทั้งด้านในแอร์เย็นฉ่ำและโซนโต๊ะไม้ใต้ร่มขาวสุดชิล ในส่วนของขนมเครื่องดื่มมีมาให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเมนู ชากาแฟ เบเกอรี่ต่างๆ

เปิดให้บริการ  07:00 – 20:00 น.

โทร 080 995 3359

Facebook : Niche Café

Niche Café

Niche Café

 Niche Café

Niche Café

 

ม่านมอญ 

เปลี่ยนบรรยากาศไปนั่งห้อยขาชมวิวสะพานมอญแบบใกล้ชิดกันที่ ม่านมอญ ร้านกาแฟสไตล์ไทยมอญ บรรยากาศน่ารักอบอุ่น ตกแต่งด้วยของใช้พื้นบ้าน หมวก ผ้า และสุ่มไก่เป็นโคมไฟยามค่ำคืน โดยร้านเปิดตั้งแต่เช้าตรู่ ตอบโจทย์คนที่อยากหาที่นั่งจิบกาแฟชมวิวยามเช้า ที่นี่ยังมีบริการอาหารท้องถิ่นคนมอญให้นั่งกินลมชมวิว ใต้สะพานจนถึงช่วงเย็นเลยอีกด้วย เป็นอีกหนึ่งร้านที่น่าแวะมากๆ

เปิดให้บริการ  06:00 – 21:00 น.

โทร  098 003 3851

Facebook : ม่านมอญ CAFE

 

ม่านมอญ

ม่านมอญ

 

แนะนำที่พักสังขละบุรี

สังขละบุรี มีที่พักหลายแห่ง ทั้งในรูปแบบของรีสอร์ท และที่พักแบบโฮมสเตย์ และแพริมน้ำ ที่ตั้งอยู่ในฝั่งไทยและฝั่งมอญ ซึ่งที่พักทางฝั่งไทยในรูปแบบรีสอร์ทจะมีมากกว่า ส่วนฝั่งมอญจะอยู่ในหมู่บ้านมอญ ที่พักส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของโฮมสเตย์ในบ้านของชาวบ้าน แต่มีที่พักในรูปแบบรีสอร์ทที่ค่อนข้างสะดวกสบาย อยู่ใกล้สะพานมอญ มองเห็นวิวได้จากห้องพัก  ตกแต่งสวย และสะอาด ที่อยากแนะนำ คือ ม่อนสเตย์ เป็นที่พักใหม่ในอาคารสามชั้น ภายในห้องตกแต่งน่ารักมาก เตียงนอนใหญ่หลับสบาย มีระเบียงชมวิว ที่สามารถมองเห็นวิวของแม่น้ำและสะพานมอญได้ แถมเดินไปกี่ร้อยเมตรก็ถึงตลาดมอญ ในราคาเพียง 1500 บาท ซึ่งถือว่าคุ้มมาก สามารถจองที่พักในราคาพิเศษกับทางอโกด้า คลิ๊ก จองที่พักม่อนสเตย์  

 

++++​อยากมองหาที่พักอื่นในสังขละบุรี สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ คลิ๊ก   15 ที่พักสังขละบุรี กาญจนบุรี

 

ม่อนสเตย์

ม่อนสเตย์

ม่อนสเตย์

ม่อนสเตย์

 

 

การเดินทางไปสังขละบุรี

โดยรถสาธารณะ

จากสถานีขนส่งสายใต้นั่งรถ  กรุงเทพฯ – กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยสามารถนั่งรถปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี แล้วไปลงที่ สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นนั่งรถสายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ – สังขละบุรี(รถไม่มีแอร์ )แล้วไปลงที่ท่ารถสังขละบุรี ใช้เวลาในการเดินทาง จากตัวเมืองถึงสังขละบุรีประมาณ 4 ช.ม. จากนั้นต่อรถมอเตอร์ไซต์รับจ้างไปยังที่พัก

สามารถใช้บริการรถ ของบริษัท เอเซียไทรโยคเดินรถ จำกัด ตั้งอยู่ที่ตัวเมือง
– อัตราค่าโดยสาร รถตู้ปรับอากาศ, รถปรับอากาศใหญ่
– เวลารถ 7.30-16.30 น ทุก 1 ชั่วโมง
– ระยะเวลาเดินทาง ประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที
– จากท่ารถสังขละบุรี นั่งรถมอเตอร์ไซต์ ไปยังที่พัก

หมายเหตุ รถปรับอากาศชั้น 1 สายกรุงเทพ – กาญจนบุรี ค่าโดยสาร 79 บาท  รถปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพ – กาญจนบุรี

 

 

ผู้เขียน

นักเดินทางที่ชอบถ่ายภาพ อยากส่งต่อเรื่องราวของการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน