• 6 จุดต้องแวะ เมื่อมาเยือนสังขละบุรี

    สังขละบุรี อำเภอที่ติดต่อกับชายแดนพม่า เมืองชายแดนแห่งนี้ รายล้อมด้วยธรรมชาติและขุนเขาอันเขียวขจี มีแม่น้ำซองกาเลียจากต้นกำเนิดในประเทศพม่าไหลพาดผ่าน อำเภอสังขละบุรีหล่อเลี้ยงผู้คนสองฟากฝั่งแม่น้ำ และเชื่อมสัมพันธ์ชนชาติมอญทั้งสองประเทศ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีแม่น้ำซองกาเลียแบ่งแผ่นดินอำเภอสังขละบุรีออกเป็น สองฝั่ง ฝั่งหนึ่งคือตัวอำเภอ ซึ่งรวมสถานที่ราชการและสถานที่พัก สำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งส่วนใหญ่เป็น คนไทยที่พูดภาษาไทย ภาคกลางส่วน อีกฝั่งหนึ่งเป็นหมู่บ้านของชาวมอญทั้งที่ตั้งรกรากมานานนับร้อยปีและเพิ่งอพยพเข้ามาใหม่  มาเที่ยวสังขละบุรีทั้งที มีจุดไหนที่เป็นไฮไลท์น่าแวะบ้างมาชมกัน 

    สังขละบุรี

    สะพานมอญ

    สะพานไม้อุตตมานุสรณ์  หรือที่ เรียกกันว่า สะพานมอญเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศ มีความยาวประมาณ 1 กม. หลวงพ่ออุตตมะเป็นผู้ดำเนิน การสร้าง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้คนไทย กะเหรี่ยงและมอญได้สัญจรไปมาหาสู่กันเพื่อเป็นการสร้าง ความสัมพันธ์ของคนทั้งสามกลุ่ม สะพานมอญเป็นจุดท่องเที่ยวที่เรียกว่ากลายเป็นสัญลักษณ์ของสังขละบุรี  นักท่องเที่ยวจะ นิยมเดินชมสะพานเพื่อชมแสงสีทองของพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า รวมถึงชมวิถีชีวิตของชาวไทย และมอญที่เดินข้ามไปมาหากันบนสะพานแห่งนี้ค่อนข้างจะคึกคักมากในช่วงเช้า

     

    dsc_0220 

     

    ตักบาตรยามเช้าชมวิถีชีวิตชาวมอญ

    หากข้ามสะพานไม้แห่งนี้ไปก็จะพบกับหมู่บ้านของขาวมอญซึ่งอพยพมาจากอำเภอเย จังหวัดเมาะละแหม่งในรัฐมอญ ประเทศพม่า  ซึ่งมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ส่วนใหญ่เลี้ยงชีพด้วย เกษตรกรรม เช่น ปลูกพืช และทำประมงชายฝั่ง สิ่งที่เป็นเสน่ห์ของหมู่บ้านมอญ คือ วัฒนธรรมแบบมอญที่ยังคงอยู่และค่อนข้างชัดเจนไม่ได้สูญหายไปกับ กาลเวลา ชาวบ้านยังคงแต่งกายแบบมอญมาตักบารตรยามเช้าร่วมกับนักท่องเที่ยว คนที่นี่ยังคงพูดภาษามอญ แต่งกายแบบชาวมอญ  นอกจากการแต่งกายที่เห็นปุ๊บก็รู้ทันทีว่าเป็นสาวชาวมอญอย่างจริงแท้แน่นอน คือ การเทินสิ่งของไว้บนศีรษะ อย่างชำนิชำนาญ ราวกับของที่เทิน อยู่นั้นเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยไม่หวั่นเกรงแรงโน้มถ่วงของโลก ดูแล้วสง่างามมิใช่น้อย ซึ่งสาวๆ มักจะมาพร้อมกับใบหน้าที่ทา ด้วยแป้งทะนาคา เครื่องสำอางจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสีขาวนวล บนพวงแก้มเป็นภาพที่ น่าประทับใจเมื่อได้เห็น

     

     

     

    เมืองบาดาล

    ในอดีตเป็นวัดวังก์วิเวการามเดิมที่หลวงพ่ออุตตมะและชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างขึ้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2496 ในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำสามสาย คือ แม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำ รันตี ไหลมาบรรจบกัน ต่อมาในปี 2527 มีการก่อสร้างเขื่อนเขาแหลมทำให้น้ำท่วมตัวอำเภอสังขละบุรีเก่ารวมทั้งวัดนี้ ด้วย หลวงพ่อจึงได้ย้ายมาสร้างวัดมาอยู่บน เนินเขา ส่วนวัดเดิมได้จมอยู่ใต้น้ำมานาน นับสิบปี ใน ช่วงฤดูแล้งราวเดือนมีนาคม-พฤษภาคม น้ำจะลดจนตัวโบสถ์โผล่พ้นน้ำทั้งหมด สามารถนั่งเรือ และขึ้นไปเดินเที่ยวชมโบสถ์ได้ ท่านสามารถล่องเรือชมบรรยากาศสองริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งจะพบวิถีการดำเนินชีวิตของ ชาวมอญ และเห็น ยอดเจดีย์พุทธคยาระหว่างการล่องเรือ ในช่วงน้ำมาก น้ำจะท่วมสูงเกือบทั้งหมด เหลือเพียงยอดของโบสถ์เท่านั้นที่โผล่ให้เห็น ทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ที่น่าสนใจมีเสน่ห์กลายเป็นแหล่ง ท่องเที่ยว Unseen Thailand ในชื่อ เมืองบาดาล

    การเดินทาง นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือหางยาวไปเยี่ยมชมเมืองบาลได้จากสะพานไม้มีเรือให้บริการหลายลำราคาลำละ 300 บาท นั่งได้ 5 – 7 คน

     

    dew_6889

    dsc_0309

     

    วัดสมเด็จ(เก่า)

    ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมืองบาดาลเป็นอุโบสถของวัดสมเด็จเก่าที่ถูกทิ้งร้าง เมื่อคราวย้ายเมืองสังขละบุรี ตอนที่เริ่มมีการสร้างเขื่อนเขาแหลม (เขื่อนวชิราลงกรณ ในปัจจุบัน) วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ ไม่ได้จมอยู่ใต้น้ำ ภายในอุโบสถมีพระประธานสภาพยังค่อนข้างสมบูรณ์ รอบตัวโบสถ์มีต้นไทรใหญ่ปกคุลมดู ขลัง และเก่าแก่งดงามยิ่งนัก สามารถเที่ยวต่อหลังจากแวะชมเมืองบาดาลโดยค่าเรือบวกเพิ่มอีก 100 บาท

     

     

    วัดวังก์วิเวการาม (วัดหลวงพ่ออุตตะมะ)

    ตั้งอยู่ห่างจากตัว จากเจดีย์พุทธคยา ไม่มากนัก มีวิหารริมแม่น้ำ ประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อนอันงดงามและเป็น ที่จำพรรษาของหลวงพ่ออุตตมะ ซึ่งประชาชนชาวไทย ชาวมอญ รวมทั้งกระเหรี่ยง และ พม่า ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เคารพนับถือ จากบริเวณวัดวังก์วิเวการาม สารีริกธาตุ ประวัติการ สร้างวัดวังก์วิเวกการามในปี พ.ศ. 2499 หลวงพ่ออุตตมะร่วมกับชาวบ้านที่เป็นชาวกะเหรี่ยง และชาวมอญได้พร้อมใจกัน สร้างศาลาวัดขึ้น และสร้าง เสร็จในเดือน 6 ของปีนั้นเอง แต่เนื่องจากยังมิได้มีการขออนุญาตจากกรมการ ศาสนา วัดที่สร้างเสร็จ จึงมีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้าน โดยทั่วไปเรียกว่า ” วัดหลวงพ่ออุตตมะ ” ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ เพราะมีแม่น้ำ 3สายไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ และแม่น้ำรันตี

     

     

    เจดีย์พุทธคยา

    เจดีย์องค์ใหญ่ บนยอดเจดีย์ ซึ่งประดับด้วยฉัตรทองคำหนัก 400 บาท  เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุที่หลวงพ่อ อุตตมะอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา ที่หลวงพ่ออุตตามะให้สร้างจำลองขึ้น เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาติ กระดูกนิ้วหัวแม่มือขวาของพระพุทธเจ้าที่ขนาด เท่าเมล็ดข้าวสาร ไว้เป็นที่ สักการะของพุทธศาสนิกชน เจดีย์แบบพุทธคยา มีลักษณะฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตุ  บริเวณใกล้กับเจดีย์พุทธคยาจำลอง มีร้านจำหน่ายสินค้าจากพม่าหลายร้านจำพวก เครื่องประดับผ้าแป้งพม่า เครื่องไม้ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการจัดงานคล้ายวันเกิดหลวง พ่ออุตตมะ ในงานมีกิจกรรมต่างๆประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา การแข่งขันชกมวยคาดเชือก การแสดงของชมรมวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การรำแบบมอญ การรำตงของชาวกะเหรี่ยง และในงานประชาชนจะพร้อมใจกันแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญ และจัดเตรียม สำรับ อาหารทูน บนศีรษะไปถวายพระสงฆ์ที่วัด

     

     

    การเดินทางไปสังขละบุรี

     

    โดยรถยนต์ส่วนตัว
    จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่าน จ.นครปฐม ขับมาประมาณ 9 กม.จะพบสะพาน ลอยข้ามไปทาง จ.กาญจนบุรี ขับไปตามทางหลวงหมายเลข 323 ขับมาประมาณ 7 กม.ท่านจะพบสี่แยกให้เลี้ยวขวา(แยกซ้ายไปบ้านโป่ง ตรงไปคือถ้ำค้างคาว) เพื่อไปยัง อ.เมืองกาญจนบุรี จากนั้นมุ่งหน้าสู่สี่แยกแก่งเสี้ยนให้ขับไปทาง อ.ทองผาภูมิ ซึ่งจะผ่านทั้ง ไทรโยคน้อย และไทรโยคใหญ่ ( หลักกิโลเมตรที่ 125 ทางหลวง หมายเลข 323 ) ท่านจะพบสามแยก ( ตรงไปไปอำเภอทองผาภูมิ + เขื่อนเขาแหลม ถ้าเลี้ยวขวาไป อำเภอสังขละบุรี)ให้ท่าน เลี้ยวขวามือไป สังขละบุรี ซึ่งท่านจะผ่าน น้ำตกเกริงกะเวีย+ น้ำตกไดช่องถ่อง ผ่านอช. เขื่อน เขาแหลม เมื่อไปถึงแยก ด่านเจดีย์สามองค์ ท่านไม่ต้องเลี้ยวขวา ให้ขับตรงไปประมาณ 7 กม. จะพบแยก ซ้ายมือไปสะพานอุตตมานุสรณ์ ขับเข้ามาอีกประมาณ 300 เมตร ก็จะพบสะพานอุตตมานุสรณ์ หากต้องการไปเที่ยววัดวิเววังการาม จากแยกด่านเจดี่ย์สามองค์ไม่ต้อง เลี้ยวขวาให้ขับตรงไป ประมาณ 7.4 กม.จะเห็นแยกขวา วัดวังก์วิเวการาม และแยกซ้ายไปเจดีย์พุทธคยาจำลอง ให้เเลี้ยวซ้ายไป ทางเจดีย์พุทธคยา จำลอง
    โดยรถสาธารณะ
    จากสถานีขนส่งสายใต้นั่งรถ  กรุงเทพฯ – กาญจนบุรี ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง โดยสามารถนั่งรถปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี แล้วไปลงที่ สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นนั่งรถสายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ – สังขละบุรี(รถไม่มีแอร์ )แล้วไปลงที่ท่ารถสังขละบุรี ใช้เวลาในการเดินทาง จากตัวเมืองถึงสังขละบุรีประมาณ 4 ช.ม. จากนั้นต่อรถมอเตอร์ไซต์รับจ้างไปยังที่พัก

    สามารถใช้บริการรถ ของบริษัท เอเซียไทรโยคเดินรถ จำกัด ตั้งอยู่ที่ตัวเมือง
    – อัตราค่าโดยสาร รถตู้ปรับอากาศ, รถปรับอากาศใหญ่
    – เวลารถ 7.30-16.30 น ทุก 1 ชั่วโมง
    – ระยะเวลาเดินทาง ประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที
    – จากท่ารถสังขละบุรี นั่งรถมอเตอร์ไซต์ ไปยังที่พัก

    หมายเหตุ รถปรับอากาศชั้น 1 สายกรุงเทพ – กาญจนบุรี ค่าโดยสาร 79 บาท  รถปรับอากาศชั้น 2 สายกรุงเทพ – กาญจนบุรี ค่าโดยสาร 62 บาท

     

    ที่พักสังขละบุรี คลิ๊ก 15 ที่พักสังขละบุรี 

     

    Tags : , , ,

  • บทความที่เกี่ยวข้อง

  • บทความล่าสุด

    บทความแนะนำ

    รีวิวคาเฟ่และร้านอาหาร