Green destination เที่ยวอำเภอกัลยาณิวัฒนา

อำเภอกัลยาณิวัฒนา อีกหนึ่งอำเภอน่าเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่  ด้วยภูมิประเทศที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงรายล้อม ด้วยป่าสน บรรยากาศสงบอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี  ทำให้กลายเป็นเส้นทางในฝันน่าเที่ยวที่หลากหลายไปด้วยเรื่องของธรรมชาติและวัฒนธรรมชนเผ่าแบบดั้งเดิม อำเภอกัลยาณิวัฒนา มี 3 ตำบล ได้แก่ บ้านจันทร์ แม่แดด และแจ่มหลวง มีตำบลละ 7 หมู่บ้าน รวม 21 หมู่บ้าน  เดิมชื่อ  “อำเภอวัดจันทร์เฉลิมพระเกียรติ” ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่ออำเภอว่า “อำเภอกัลยาณิวัฒนา” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเคยทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจในพื้นที่ตำบลบ้านจันทร์ เมื่อเดินทางเข้าสู่ตัวอ.กัลยาณิวัฒนา เราจะพบเห็นป่าสนที่เรียงรายไปตลอดเส้นทางกินพื้นที่กว้างใหญ่ จนได้รับสมญานามว่า เป็นดินแดนแห่งป่าสนผืนใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในช่วงหน้าหนาวป่าสนจะผลัดใบเปลี่ยนสีจนกลายเป็นหุบเขาหลากสีสรรชวนมองกลายเป็นเอกลักษณ์ของที่โดดเด่นของที่นี่ โดยเฉพาะที่โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์  สถานที่โรแมนติกชวนฝันในฤดูหนาวที่ดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวหลังไหลมาเพื่อชื่นชมบรรยากาศนี้  แล้วถ้ามาในช่วงฤดูฝนอำเภอนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร แตกต่างจากช่วงหนาวมากมั้ย รีวิวนี้มีคำตอบ

 

cover

 

เริ่มต้นการเดินทางสู่อำเภอกัลยาณิวัฒนา  ที่แห่งนี้มีอะไรน่าเที่ยวบ้าง 

สถานที่ท่องเที่ยวหลักๆ ของอำเภอกัลยาณวัฒนา ได้แก่  โครงการหลวงป่าสนวัดจันทร์  วัดจันทร์ จุดชมวิวพระธาตุ บ้านห้วยฮ่อม  อ่างเก็บน้ำห้วยอ้อ  ศูนย์ศิลปาชีพบ้านวัดจันทร์  อำเภอนี้สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง แต่เส้นทางที่ได้รับความนิยมคือ เส้นทางเดียวกับเส้นทางไปปายนั่นหมายความว่าเราต้องผ่านเส้นทางภูเขาที่คดเคี้ยวกว่าพันโค้ง  กับการเดินทางกว่า 3 ชั่วโมง จากตัวเมืองเชียงใหม่  ใครที่เคยผ่านมายังเส้นทางนี้อาจไม่ต้องอธิบายว่านั่งรถแอบโหดขนาดไหน  เมื่อมาถึงทางแยกไปบ้านวัดจันทร์ยังต้องเจอโค้งและทางสูงชันไปเรื่อยๆ ใช้เวลาอีกประมาณกว่า 2 ชั่วโมงกว่าจะถึงโครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ซึ่งเป็นที่พักและจุดหมายปลายทางของเรา  หากไม่มีรถส่วนตัวก็มีรถโดยสาร สามารถนั่งรถประจำทาง กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ และต่อรถสองแถวสีเหลืองสายเชียงใหม่ สะเมิง วัดจันทร์ สามารถขึ้น รถสองแถวได้ที่ บขส. (ช้างเผือก) ราคาคนละ 150 บาท ถ้าให้ไปส่งที่ ออป. เลยเพิ่มอีกคนละ 40 บาทใช้เวลาเดินทางขึ้นไป ประมาณ 6 ชม.
– จากขนส่งอาเขต – อำเภอ ปาย (รถบัส)รถเริ่มออกเวลา 07.00, 9.00, 10.30, 12.30, 14.30, 16.00 น.ค่าโดยสาร โทรสอบถามได้ที่ บ.เปรมประชา 053-304748 ต่อรถสองแถวที่ตลาดแสงทองอำเภอปาย รอผู้โดยสารขึ้นไปบ้านวัดจันทร์ มีวันละ 1 เที่ยว ออกเวลา 13.00 น ใช้เวลาสั้นกว่าเส้นทางแรก

แต่ระยะทางอันไกลนี้ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคอะไร สำหรับนักเดินทางผู้โหยหาธรรมชาติเพราะสิ่งสวยงามกำลังรอเราอยู่อดทนและท่องไว้ว่า ไกลแค่ไหนคือ ใกล้

แวะต้มไข่ ที่บ่อน้ำพุร้อนเหมืองแร่

เมื่อเรามาเดินทางมาถึงทางแยกบ้านวัดจันทร์ตรงไปอีกประมาณ 14 กิโลคือปาย  และเลี้ยวซ้ายก็จะเป็นเส้นทางไปบ้านวัดจันทร์  ระหว่างทางเราจะพบกับจุดท่องเที่ยวแรกนั้นก็คือ  บ่อน้ำพุร้อนบ้านเหมืองแร่ บ่อน้ำพุร้อนบ้านเหมืองแร่ เป็นบ่อน้ำพุร้อนนี้ถือว่าอยู่ในเขตพื้นที่ของอำเภอปาย แต่ห่างจากปายมากและมาตั้งอยู่ในเส้นทางที่จะเดินทางไปบ้านวัดจันทร์   บ่อน้ำพุร้อนอยู่ริมถนนสังเกตได้ชัดเจน เพราะจะมีไอของน้ำร้อนพวยพุ่งกระจายไปทั่ว เป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดเล็กที่เกิดขึ้นเองธรรรมชาติแต่ไม่สามารถลงแช่น้ำได้  ซึ่งด้านหลังมีกระท่อมเป็นเพลิงเล็กๆ สำหรับต้อนรับนักท่องเที่ยว มีอาหารเป็นอาหารเล็กน้อย อย่างส้มตำ ไข่ต้ม  มาม่า ขนมขบเคี้ยว กาแฟ ให้บริการ  มีตะกร้าใส่ไข่สำหรับคนที่สนใจลองต้มไข่ในน้ำแร่

 

1 DEW_1313

2 DEW_1316

3 DEW_1307

 

สูดโอโซน เดินเล่นล้อทิวสน  โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์

ปกติหากนึกถึงโครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ หรือบางคนจะเรียกว่าสั้นๆว่า  ป่าสนวัดจันนทร์ เรามักจะนึกถึงบรรยากาศของป่าสนผลัดใบในฤดูหนาวและไอหมอกลอยเหนืออ่างเก็บน้ำในยามเช้า เราอาจจะคิดว่าเหมาะสำหรับไปเที่ยวแค่ในช่วงหน้าหนาวเพราะบรรยากาศอาจจะใช่กว่า แต่แท้จริงแล้วที่นี่สามารถเที่ยวได้ทุกฤดู ถึงแม้ฤดูอื่นจะไม่หนาวจัดเท่าหน้าหนาวก็ตาม แต่อากาศเย็นสบายตลอดปี  และหากมาเที่ยวในฤดูฝนจะได้พบกับอีกหนึ่งบรรยากาศที่เขียวขจีและสดชื่นในแบบฉบับของการท่องเที่ยวช่วงกรีนซีซั่นซึ่งสวยงามไม่แพ้กัน   เรามาถึงเกือบ 4 โมงเย็น  ซึ่งคืนนี้จะพักค้างคืนกันที่นี่

 

4 DSC_5063

 

ติดต่อเช็คอิน ณ ที่ทำการของโครงการ แม้แต่ที่ทำการก็ยังน่าอยู่ซะขนาดนี้

 

5 DEW_1737

6 DEW_1491

 

มาเที่ยวช่วงฝนที่เรียกกันว่าช่วงโลวซีซั่นบรรยากาศเงียบสงบแตกต่างกับฤดูหนาว ทุกพื้นที่ถูกปกคลุมไปด้วยความเขียวขจีของต้นไม้ ช่างเป็นสวรรค์ของพวกเราโดยแท้

 

7 DEW_1495

10 DSC_5070

11 DSC_5081

 

บ้านพักของโครงการหลวงฯ มีให้เลือกหลายแบบ รายละเอียดของบ้านพักดูได้ที่ http://www.fio.co.th/travel/watchan/   สำหรับบ้านพักที่ได้รับความนิยมและขึ้นชื่อว่าวิวดีและอยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำและทิวสนมากที่สุดก็คงเป็นบ้านสนเขา ซึ่งมีทั้งหมด 7 หลัง  ลักษณะของบ้านเป็นบ้านแบบกระท่อมไม้เล็กๆ อาจไม่ได้ดูหรูหราอะไร แต่ก็ได้ความรู้สึกของความเป็นคันทรี่แบบมีระดับที่กลมกลืนไปกับบรรยากาศ  ทราบมาว่าช่วงหน้าหนาวบ้านพักถูกจองเต็มเกือบหมดแล้ว โดยเฉพาะบ้านสนเขาไม่ต้องพูดถึง แต่เนื่องจากเรามาใช่ช่วงโลว์ซีซั่น ทุกอย่างก็ดูง่ายไปหมด ไปจองหน้างานก็มีที่พักว่าง แถมราคาลดลงไปด้วย  ปกติบ้านสนเขาแบบ 2 คน หน้าไฮหลังละ 800 บาท แต่ช่วงโลว์เหลือ 600 บาท เท่านั้น

 

12 DSC_5083

13 DEW_1326

 

เดินเล่นชมบรรยากาศภายในโครงการชมวิวต้นสนที่เรียงรายตลอดสองข้างทาง  พื้นดินรอบด้านที่เคยเป็นสีน้ำตาลในเวลานี้กลายเป็นหญ้าสีเขียวขจี แซมด้วยสีเขียวของมอสและตะไคร่ที่ขึ้นแซมไปตามพื้นคอนกรีต นี่แหละคือความสวยงามของการท่องเที่ยวในฤดูฝน

 

14 DSC_5018

 

ป้ายบอกทางไปอ่างเก็บน้ำแต่เรายังไม่ไปในช่วงเวลานี้เพราะตั้งใจจะไปในตอนเช้าของอีกวัน เราเลี้ยวไปตามทางของบ้านฉางข้าว ซึ่งในเส้นทางนี้ก็รายล้อมไปด้วยต้นสนเช่นกัน

 

15 DSC_5023

16 DSC_5025

17 DSC_5034

 

เดินไปอีกนิดจะเป็นพื้นที่ทดลองปลูกข้าว มาในช่วงกลางเดือนกันยายนถือว่ากำลังพอเหมาะพอดี นาข้าวเขียวขจีเต็มท้องทุ่ง ส่วนปลายเดือนตุลาคมก็เริ่มเปลี่ยนเป็นสีทอง

 

18 DSC_5044

21 DEW_1367

19 DEW_1372

20 DEW_1368

 

สามารถลงไปเดินเล่นในท้องนาและหามุมถ่ายภาพสวยๆ ได้ตามความพึงพอใจ

 

20 DEW_1352

21 DEW_1350

 

เมื่อเดินไปจนสุดปลายทางก็จะมีสะพานข้ามไปยังอีกฝั่ง หยุดพักหายใจชมวิวกันซักหน่อย

 

24 DEW_1371

25 DEW_1377

 

ฝั่งตรงข้ามจะเป็นดงของต้นเมเบิ้ล ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ในช่วงฤดูหนาว เพราะใบเมเบิ้ลจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีแดง ส้ม  เหลือง สลับกัน  แต่ถ้ามาในช่วงฤดูฝนก็จะเขียวขจีมองดูแล้วก็สวยงามอีกแบบ

 

26 DEW_1359

27 DEW_1362

 

ตื่นเช้ามากับอีกหนึ่งกิจกรรมยอดฮิต นั่นก็คือ ปั่นจักรยานชมวิว สูดอากาศบริสุทธิ์  ไปตามเส้นทางทิวสนรอบโครงการ ฯ มีจักรยานให้เช่าคันละ 100 บาท ต่อวัน

 

29 DEW_1429

30 DEW_1452

 

บรรยากาศบริเวณอ่างเก็บน้ำในยามเช้า ถึงแม้จะไม่มีไอหมอกลอยเหนือน้ำเช่นฤดูหนาว แต่ก็มีสายหมอกลอยคลอเคลียผ่านทุ่งนามาเป็นระยะ

 

31 DEW_1400

32 DEW_1398

30 DEW_1423

 

เก็บเรื่องราวสีเขียวของป่าสนไว้ในความทรงจำในฤดูแห่งสีเขียว  อีกหนึ่งฤดูแห่งความสดชื่นที่แสนประทับใจ

 

34 DEW_1471

35 DEW_1483

 

เที่ยวนาข้าวขั้นบันได ชมวิถีชีวิตขาวเขา ที่บ้านห้วยฮ่อม 

หลังจากเดินเล่นชมวิวป่าสนที่โครงการหลวงแล้ว เวลา 09.00 น. คือ เวลานัดหมายที่คุณฤทธิศักดิ์ หรือพี่เช ประธานกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนเหล่อชอ จะมารับเราที่โครงการหลวง เพื่อนั่งรถกระบะต่อไปยังบ้านห้วยฮ่อม หมู่บ้านชาวเขาซึ่งตั้งอยู่ในเขตบ้านจันทร์ โดยจะทำหน้าที่เป็นไกด์นำทาง จากโครงการหลวงใช้เวลาเดินทางไปประมาณ 30 นาที  เส้นทางเข้าสู่บ้านห้วยฮ่อม ในช่วงฤดูฝนแฉะพอสมควร รถตู้หรือรถเก๋งไม่เหมาะที่จะขับขึ้นมา

 

36 DEW_1499

37 DEW_1505

38 DEW_1521

 

บ้านห้วยฮ่อม เป็นเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเหล่อชอ ที่เกิดจากการรวมตัวกันของ 3 หมู่บ้าน คือ  บ้านห้วยฮ่อม บ้านดอยตุง และบ้านห้วยครก ต. บ้านจันทร์  ซึ่งชาวเขาส่วนใหญ่เป็นชาวปกากะญอที่เข้ามาอาศัยและตั้งถิ่นฐานจนกลายเป็นหมู่บ้าน  มีเรื่องราวของชุมชนที่อยู่คู่กับธรรมชาติและยังคงใช้วีถีชีวิตแบบดั้งเดิมอยู่มาก ทั้งวัฒนธรรมการแต่งกาย ความเป็นอยู่ อาหารการกิน ประเพณีและความเชื่อแบบโบราณคือการนับถือผี บูชาธรรมชาติ โดยเปิดให้เป็นการท่องเที่ยวชุมชนเปิดให้บุคคลที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้และสัมผัสวิถีชุมชน พักโฮมสเตย์และทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน  สำหรับการท่องเที่ยงชุมชนบ้านห้วยฮ่อมจะคิดราคาตามนี้

ค่ารถกระบะนำเที่ยว   1000 บาท  นั่งได้ 10 คน  (เนื่องจากเส้นทางบางช่วงเมื่อเข้าสู่บ้านห้วยฮ่อม รถตู้หรือรถเก๋งไม่สามารถเข้าได้)
ค่าอาหารกลางวัน   70 บาท/คน
ค่าผู้นำเที่ยว  300 บาท

ค่าอาหารว่างเมตอซู  300 บาท

ค่าประสานงาน  200 บาท

ค่าชมการทอผ้าของชุมชน 300 บาท
ค่าผู้นำเที่ยวชุมชน 300 บาท/วัน/กลุ่มไม่เกิน 10 คน

โดยสามารถติดต่อได้ที่ พี่เช โทร  080-859-2978

 

39 DEW_1509

 

บ้านห้วยฮ่อมยังเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ของธรรมชาติโดยเฉพาะนาข้าวที่กระจายอยู่รอบหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านจะเริ่มทำนากันในช่วงเดือนส.ค. และข้าวก็จะเริ่มเขียวขจีเต็มท้องทุ่งประมาณเดือนกันยายน และกลายเป็นสีทองในช่วงกลางปลายเดือนตุลาคม

 

40 DEW_1511

41 DEW_1515

 

บ้านเรือนของชาวเขาในหมู่บ้านห้วยฮ่อม  ยังคงเป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนสูงแบบนี้เกือบทุกบ้าน

 

42 DEW_1523

 

พี่เชพาพวกเรามาที่ วัดห้วยฮ่อม วัดเพียงแห่งเดียวซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน  ชาวบ้านที่นี่นับถือ 2 ศาสนา คือ พุทธ และคริสต์  แต่ทั้งสองศาสนายังกลมกลืนและมีความสามัคคีเข้าใจกัน เวลามีงานบุญศาสนาคริสต์ก็จะมาช่วย และอย่างมีงานคริสต์มาสศาสนาพุทธก็มาร่วมด้วยเช่นกัน

 

44 DEW_1532

43 DEW_1530

 

จากนั้นก็นำทางเราไปต่อยังจุดไฮไลต์นั่นก็คือ นาข้าวของหมู่บ้าน  ก่อนจะถึงนาข้าว พี่เชชี้ให้เราดูดงต้นไผ่ พร้อมอธิบายว่า ต้นไผ่ถือว่าเป็นพืชที่สำคัญของหมู่บ้านที่ชาวบ้านนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งวงจรชีวิต ตั้งแต่เมื่อต้นไผ่เริ่มโตก็ขุดเอาหน่อไม้มากิน  ลำต้นไผ่ก็มาทำที่อยู่อาศัย รวมถึงเป็นไม้ปักทางการเกษตร เป็นภาชนะ หรือใช้ในงานหรือพิธีกรรมต่างๆ  รวมถึงหนอนในไม้ไผ่ก็สามารถนำมากินได้

 

45 DEW_1534

46 DEW_1536

 

จากจุดจอดรถเดินมาประมาณ 200 เมตร มาถึงพื้นที่ปลูกข้าวของชาวบ้านห้วยฮ่อม  ลักษณะของพื้นที่นาข้าวตั้งอยู่รายล้อมกลางหุบเขาปลูกลดหลั่นกันไป  แต่ไม่ถึงก็เป็นขั้นบันไดมากเหมือนแม่แจ่มหรือแม่กลางหลวง

 

47 DEW_1558

49 DEW_1568

49 DEW_1576

 

เส้นทางการเดินชมนาข้าวระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร  เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเป็นลักษณะวงกลม  ระหว่างทางนอกจากจะได้เห็นไร่นาแล้ว ยังได้เห็นแปลงพืชไร่ชนิดอื่นที่ชาวบ้านได้ปลูกไว้ด้วย

 

51 DEW_1573

48 DEW_1561

50 DEW_1572

 

อุปกรณ์ไม้ไผ่ที่หมือนกรงนกอยู่ตรงทุ่งนานี้ทำไว้ เพื่อ บวงสรวงผีซึ่งเชื่อว่านาแต่ละแปลงมีผีที่ดูแลผืนนานั้นอยู่  วิธีการบวงสรวงคือ นำเลือดไก่มาเซ่นไหว้โดยป้ายเลือดไว้ที่ไม้ จากนั้นนำขนไก่มาปักไว้

 

53 DEW_1581

 

นาข้าวของชาวบ้านก็ไม่ได้ปลูกไว้ขายแต่อย่างใด แต่ปลูกไว้เพื่อใช้บริโภคกันในครัวเรือน และใช้วิถีการปลูกตามแบบธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ใช้ปุ๋ยธรรมชาติจากเศษใบไม้ มูลสัตว์ น้ำที่ใช้ทำนาก็ใช้น้ำจากภูเขาและลำธาร เรียกได้ว่าวิถีชีวิตยังเป็นอะไรที่อยู่กันแบบชาวบ้านจริงๆ ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่า พืชผักที่นำมาใช้รับประทานก็ปลูกเอง ยึดอาชีพเกษตรทำไร่ ทำนาเป็นหลัก แปลงผักบางแปลงก็ปลูกและส่งให้กับโครงการหลวง

 

54 DEW_1589

55 DEW_1594

 

เส้นทางเดินชมทุ่งนาบางช่วงก็รกไปด้วยหญ้าและวัชพืชต่างๆ  เราเดินมาเรื่อยจนถึงจุดไฮไลต์ในการชมวิวทุ่งนาที่สามารถมองเห็นได้จากมุมสูง  แต่ปัญหาคือ เราได้แค่ยืนชมจากรั้วลวดหนามซึ่งมีการมากั้นไว้ป้องกันไม่ให้วัวเข้าไปทำลายนาข้าว

 

56 DEW_1598

57 DEW_1620

57 DEW_1621

 

แต่เพื่อให้ได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เราก็ลงทุนปีนรั้วแล้วขึ้นไปยืนบนตอไม้ซึ่งมีอยู่หนึ่งตอ ที่พอจะเก็บภาพในมุมสูงได้

 

59 DEW_1606

60 DEW_1609

 

นาข้าวอีกฝั่งที่อยู่ตรงข้ามกัน  ที่เห็นอยู่ไกลๆ นั่นคือ  ไร่ถั่วแดงซึ่งชาวบ้านกำลังช่วยกันทำอย่างขยันขันแข็ง

 

61 DEW_1622

 

สังเกตว่าตลอดที่เราเดินผ่านนาข้าว จะมีกระท่อมปลายนาอยู่หลายหลังเพราะพื้นที่นาของชาวบ้านจะมารวมอยู่ด้วยกันในจุดนี้โดยแบ่งสันปันส่วนกันไป  ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นที่พักพิงหลังจากการทำไร่ทำนาแล้ว ยังใช้ประกอบพิธีเซ่นไหว้ผีที่ดูแลพื้นที่นาของตัวเองอีกด้วย

 

62 DEW_1630

 

เดินชมท้องนาได้เหงื่อมานิดหน่อยก็มาถึงเวลารับประทานอาหารกลางวันยังบ้านพักโฮมสเตย์ที่พี่เชได้จัดเตรียมพื้นที่ไว้ให้เรารับประทานเรียบร้อยแล้ว  หากใครอยากพักค้างคืนอยู่ร่วมกับชาวบ้าน ที่นี่ก็มีทีพักอยู่ประมาณ 4 หลัง

 

63 DEW_1653

64 DEW_1644

 

นั่งล้อมวง ปูเสื่อ รับประทานอาหารกลางวันมีกับข้าวประมาณ 3 อย่าง เป็นเมนูง่าย ๆ น้ำพริก ไข่เจียว ต้มจืดไก่กับแตงกว่า รสชาติอร่อยเลยทีเดียว

 

65 DEW_1643

66 DEW_1633

 

หลังจากทานอาหารคราวเสร็จก็ตบท้ายด้วยของว่าง เป็นอาหารเฉพาะของชนเผ่า ซึ่งมีชื่อว่า เมตอซู  วิธีการทำ คือ นำข้าวเหนียวแช่น้ำไว้ 1 คืน จากนั้นใส่น้ำตาลใส่ในฝักดอกกล้วยไม้ที่หาได้ตามหมู่บ้าน  จากนั้นนำไปนึ่งรสชาติก็คล้ายกับข้าวหลามแต่จะมีกลิ่นหอมของกล้วยไม้ติดมาด้วย

 

67 DEW_1638

 

กิจกรรมต่อไป คือ การเรียนรู้เรื่องการทอผ้า ตั้งแต่ขั้นตอนการปั่นด้าย การทอ และการปักผ้าด้วยลูกเดือย การทอผ้ายังเป็นการทอแบบโบราณใช้กี่เอว หากเรานั่งรถผ่านและมองไปตามแต่ละบ้าน เราจะเห็นว่าแทบทุกบ้านมีอุปกรณ์ทอผ้าวางอยู่  ซึ่งการทอผ้าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ยาจนมาถึงลูกหลานผ้าที่ทอก็นำมาใช้ใส่กันเองในครัวเรือน

 

68 DEW_1662

70 DEW_1673

69 DEW_1683

 

วิหารแว่นตาดำ วัดจันทร์

วัดจันทร์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่อำเภอ อีกวัดหนึ่งมีวิหารที่แปลกจากวิหารทั่วไป เรียกว่า วิหารแว่นตาดำ หรือวิหารเรย์แบรนด์   เนื่องจากลักษณะของวิหารเมื่อมองจากด้านหน้าแล้วคล้ายกับกำลังสวมแว่นตาดำ วิหารนี้ช่างชาวปกากะญอได้เอากระจกกรองแสงสีดำมาติดตรงช่องลมด้านหน้าวิหาร เมื่อประมาณ 40 ปีที่แล้วนี้เอง ด้วยเหตุเพื่อป้องกันโจรที่เข้ามาลอบขโมยพระประธาน ซึ่งเป็นพระสิงห์สาม อายุกว่า 300 ปี

 

DSC_2376

 

จุดชมวิวพระธาตุ ชมวิวอำเภอกัลยาณิวัฒนา

หากเดินทางมาถึงอำเภอกัลยาณิวัฒนา  ไม่ควรพลาดมาชมวิวในมุมสูงที่สามารถมองเห็นวิวของอำเภอนี้ได้แบบกว้างไกล  ที่จุดชมวิวพระธาตุ บ้านวัดจันทร์  ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับวัดจันทร์ ไม่ไกลจากโครงการหลวงมากนัก  เส้นทางขึ้นไปยังจุดชมวิวต้องใช้รถกระบะขึ้นไปเท่านั้นคะ เพราะเป็นเส้นทางดินแดนแคบและชันนิดหน่อย ขึ้นไปประมาณ 1 กิโล เราก็จะได้เห็นเจดีย์สีขาว ซึ่งพี่เชเรียกว่า โคว่โพหลู่ แปลว่า เจดีย์น้อย

 

72 DEW_1735

 

เมื่อมองลงไปเบื้องล่างจะเห็นภาพบ้านเรือนของชาวบ้านที่แทรกตัวตามต้นไม้ใหญ่ที่เขียวขจี  ในช่วงฤดูทำนาเราก็จะได้เห็นนาข้าวเขียวขจีมองแล้วสบายตาและสดชื่น

 

73 DEW_1728

 

จากจุดชมวิวสามารถมองเห็นวัดจันทร์ ตั้งโดดเด่นเป็นสง่า

 

74 DEW_1723

75 DEW_1721

 

ต้นสนที่ยังมีให้เห็นและปกคลุมตลอดทั่วทุกพื้นที่ สมกับเมืองแห่งป่าสน

 

76 DEW_1714

 

ขณะที่เรายืนชมวิวก็มีฝนโปรยลงมาตลอด แต่นั้นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการท่องเที่ยวของเรา เงยหน้าท้าฝนต้อนรับด้วยความเต็มใจ  อย่ากลัวฝนเพราะฝนนั่นเย็นฉ่ำ

 

77 DEW_1719

 

อำเภอกัลยาณิวัฒนา  เหมาะสำหรับคนที่ถวิลหาความสงบและความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ ต้องการพักผ่อนในบรรยากาศแบบสบาย  ถึงแม้ต้องเหนื่อยกับการนั่งรถที่นานแสนนานเป็นพันโค้ง แต่เมื่อมีจุดหมายปลายทางที่แสนคุ้มค่ารออยู่ ก็น่าจะลองมากันซักครั้ง และที่สำคัญที่สุดคือ เราสามารถมาเที่ยวที่นี่ได้อีกหนึ่งฤดู คือ ฤดูฝนซึ่งมีอะไรน่าสนใจและ สวยงามไม่แพ้ฤดูหนาวเลยทีเดียว

รีวิวนี้เดินทางวันที่ 12-13 ก.ย. 58

 

 

ผู้เขียน

นักเดินทางที่ชอบถ่ายภาพ อยากส่งต่อเรื่องราวของการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน

บทความที่เกี่ยวข้อง