พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล นราธิวาส

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล ตั้งอยู่ที่พุทธอุทยานเขากง นราธิวาส-หรือวัดเขากง ถนนสายนราธิวาส-ลำภูระแงะ ห่างจากตัวเมืองนราธิวาส  9 กิโลเมตร  จะมองเห็นวัดเขากง และพระพุทธรูปทักษิณมิ่งมงคลสีทองปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล เป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งที่งดงามและใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ประดิษฐานในปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา มีพุทธลักษณะตามแบบศิลปะสกุลช่างอินเดียตอนใต้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 องค์พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกสีทอง หน้าตักกว้าง 17 เมตร ความสูงวัดจากพระเกศบัวตูมถึงบัวใต้พระเพลา 24 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย องค์พระพุทธทักษิณมิ่งมงคลได้ประดิษฐานอย่างมั่นคงคู่กับจังหวัดนราธิวาส และดินแดนภาคใต้ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ  และเป็นที่สักการะบูชาอย่างสูงของชาวพุทธในดินแดนภาคใต้

 

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

 

ประวัติความเป็นมาในการก่อสร้างพระพุทธทักษิณมิ่งมงคลขึ้นบนยอดเขากงนี้ ด้วยสาเหตุว่า พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นพุทธสถานมาตั้งแต่ครั้งโบราณ  โดยมีการค้นพบหลักฐานที่เป็นซากโบราณสถานอันเป็นส่วนประกอบของเจดีย์พร้อมทั้งเศียรพระพุทธรูป  และพระโพธิสัตว์ฝ่ายมหายานรวมทั้งโบราณวัตถุมากมาย  ดังนั้นบรรดาพุทธบริษัท ทั้งหลายจึงรวมใจกันสร้างองค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่บนยอดเขากง  เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปประจำภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด

 

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

 

ตรงข้ามกับพระพระพุทธทักษิณมิ่งมงคล มีศาลาริมน้ำและหลวงปั้นหลวงปู่ปอเลาะ  เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเขากงซึ่งชาวบ้านทั้งใน จ.นราธวาสและ จ.ใกล้เคียงต่างก็นับถือท่านมาก หลวงปู่เปาะเลาะอดีตของท่านนั้นนับถือศาสนาอิสลามแต่ด้วยท่านป่วยหนักไปรักษาที่ไหนก็ไม่หายจนเมื่อท่านได้มารักษาที่วัดแห่งหนึ่งท่านก็พูดว่าถ้ารักษาแล้วท่านหายป่วยท่านจะบวชเป็นพระและไม่นานท่านก็หายป่วยท่านจึงมีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธท่านจึงได้บวชเป็นพระตั้งแต่บัดนั้นต่อมา

 

dew_5355

dew_5359

 

ในบริเวณเดียวกัน มี เจดีย์สิริมหามายา ทรงระฆังเหนือซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศมีเจดีย์รายประดับอยู่ ภายในประดิษฐานพระพรหม บนยอดสุดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันศักดิ์สิทธิ์

 

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล

 

การเดินทาง
วัดเขากงมงคลมิ่งมิตรปฏิฐาราม  อ.เมือง จ.นราธิวาส ห่างจากตัวเมืองประมาณ  9  กม.  ใช้เส้นทางนราธิวาส – ระแงะ (ทางหลวงหมายเลข  4055)

 

ผู้เขียน

นักเดินทางที่ชอบถ่ายภาพ อยากส่งต่อเรื่องราวของการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน

บทความที่เกี่ยวข้อง