ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร นราธิวาส

ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร หรือ ป่าพรุโต๊ะแดง  เป็นป่าพรุที่มีเนื้อที่และอุดมสมบรูณ์มากที่สุดที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทย ตั้งอยู่ ในอำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส  ป่าพรุแห่งนี้ถือ เป็นผืนสุดท้ายของภาคใต้ทีมีความอุดมสมบูรณ์ธรรมชาติร่มรืนย์ มีลักษณะเด่นที่สำคัญ คือ ความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายของพันธุ์พืชและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังตลอดปี อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่าและพรรณไม้ โดยมีลำน้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน ได้แก่ คลองสุไหงปาดี แม่น้ำบางนรา และคลองโต๊ะแดง อันเป็นที่มาของชื่อป่านั่นเอง เป็นป่าพรุที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ ทรงสนพระทัยและทรงงานวิจัยป่าพรุด้วยพระองค์เอง โยเสด็จมาทรงงานยังป่าพรุโต๊ะแดหงลายครั้ง จนคนนราธิวาสยกป่าพรุโต๊ะแดงให้เป็นของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ และเรียกป่าพรุแห่งนี้ว่า “ป่าพรุสิรินธร”

 

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

 

จากตัวอำเภอสุไหงโกลกประมาณ 6 กิโลเมตร  ก็มาถึงพื้นที่ของป่าพรุสิรินธร เมื่อมาถึงลานจอดรถ จะพบกับบ้านพักที่ทำการของเจ้าหน้าที่ ตั้งเรียงรายด้านหน้า ท่ามกลางความเขียวขจีของพันธุ์ไม้นานาชนิด ด้านหลังจัดทำเป็นลานระเบียง สระน้ำเป็นสระบัวในป่าพรุขนาดย่อม

 

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

 

จากนั้นข้ามไปยังฝั่งตรงข้าม ซึ่งเป็นที่ทำการของป่าพรุสิรินธร เดินทะลุอาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาไปทางด้านหลัง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าพรุโต๊ะแดง ซึ่งมีระยะทางประมาณ 2  กิโลเมตร  ใช้เวลาเดินประมาณ 45 – 60 นาที  เป็นสะพานไม้ทอดยาวกลางป่าพรุ

 

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

 

ภายในพื้นที่มีการจัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม และลานระเบียง จุดนั่งพักผ่อนชมวิว  มีป้ายข้อความ “พรุโต๊ะแดง ป่าเดียว น้ำเดียว ในแดนดิน” ซึ่งแสดงถึงตัวตนอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผืนป่าพรุแห่งนี้

 

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

 

ป่าพรุ  เกิดจากแอ่งน้ำจืดขังติดต่อกันอย่างยาวนาน  ดินในป่าพรุ เป็นดินพรุ หรือ  ดินอินทรีย์  ที่เกิดจากสะสมตัวของซากอินทรีย์วัตถุ เช่น เศษไม้ ใบไม้ ซากพืชที่ตายแต่ยังไม่สลายตัว ทับถมกันอยู่อย่างหลวมๆเป็นเวลานาน จนเกิดเป็นชั้นหนาปกป้องพื้นดินเดิม  น้ำในป่าพรุ เป็นน้ำแช่ขังตลอดทั้งปี การไหลเวียนของน้ำเป็นไปอย่างเชื่องช้า เป็นน้ำที่มีอินทรียวัตถุย่อยสลายจึงมีความเป็นกรดอ่อน มีสีน้ำตาลคล้ายน้ำชาที่มีสัตว์น้ำอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะปลานั้นมีอยู่มากมาย เช่น ปลาช่อน ปลากะสง ปลาไหล ปลาดุกลำพัน และที่พิเศษคือ “ปลากะแมะ” ปลาชนิดใหม่ที่ค้นพบที่ป่าพรุแห่งนี้

 

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

 

ป่าพรุโต๊ะแดงมีไม่น้อยกว่า 500 ชนิด ประกอบด้วยไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย พืชล้มลุก นอกจากนี้ก็ยังมีพืชพันธุ์น่าสนใจอื่นๆ  อีกมากมาย บริเวณสองข้างทางเดินจะพบต้นไม้หลากชนิด บางชนิดลำต้นขนาดเท่าข้อมือยาวเลื้อยไปเกาะไม้ยืนต้น บางชนิดลำต้นสูงมีรากประหลาดโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินพื้นน้ำ  เหมือนป่าลึกลับในเทพนิยาย  ระหว่างทางจะมีฐานให้ความรู้ พร้อมป้ายสื่อความหมายให้ข้อมูลเกี่ยวกับพืชพันธุ์ไม้อีกด้วย  เรียกได้ว่าเป็งเส้นทางเดินชมอย่างสวยงาม ร่มรื่น เขียขจีมองดูสบายตา ได้ยินเสียงสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในผืนป่าร้องส่งเสียงคอยต้อนรับตลอดเวลา  เดินชมไปถ่ายภาพไป สร้างความเพลิดเพลินได้อย่างมากมาย

 

 

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

ป่าพรุโต๊ะแดง

 

ศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร

ตั้งอยู่ที่ ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 8.00 – 15.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 098-010-5736  เปิดให้เข้าชมโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

ผู้เขียน

นักเดินทางที่ชอบถ่ายภาพ อยากส่งต่อเรื่องราวของการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน

บทความที่เกี่ยวข้อง