บ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์)

บ้านหลวงรับราชทูต หรือ บ้านวิชาเยนทร์ ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ไม่ไกลจากพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ในสมัยก่อนกลุ่มบ้านอันงดงามเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่รองรับคณะทูตที่มาเข้าเฝ้า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชยังเมืองลพบุรี คณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ.2228 ได้พำนัก ณ ที่แห่งนี้ ต่อมาเมื่อชาวกรีกที่ มีชื่อ Constantine Phaulkon (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ได้เข้ามารับราชการและได้รับความดีความชอบ ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นถึง เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ และได้พระราชทานที่พักอาศัยให้อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของบ้านหลวงรับราชทูต จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านหลวงรับราชทูตหรือบ้านหลวงวิชาเยนทร์ ลักษณะของสถาปัตยกรรมบ้านหลวงรับราชทูตบางหลังเป็นยุโรปอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอาคารใหญ่ทางทิศตะวันออกก่อด้วยอิฐ ถือปูน 2 ชั้น หน้าต่างและซุ้มประตูแสดงให้เห็นลักษณะศิลปะตะวันตกแบบเรอเนสซองส์ RENAISSANCE ซึ่งแพร่หลายในสมัยนั้น

 

บ้านวิชาเยนทร์

บ้านวิชาเยนทร์

บ้านวิชาเยนทร์

 บ้านวิชาเยนทร์

ภายในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูตมีอาณาเขตกว้างขวางแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

ด้านทิศตะวันตก  เป็นกลุ่มอาคารได้แก่ตึก 2 ชั้น หลังใหญ่ก่อด้วยอิฐและอาคารชั้นเดียวแคบยาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม เป็นส่วนที่พักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์และและภรรยา คือ ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ มีซุ้มประตูทางเข้าเป็นรูปครึ่งวงกลมด้านหลังเป็นถังเก็บน้ำ และด้านหน้าเป็นสนามหญ้า
พื้นที่ส่วนกลางสันนิษฐานว่าเป็นหอระฆังและโบสถ์ คริสตศาสนา โบสถ์เหล่านี้ถือกันว่าเป็นโบสถ์คริสต์หลังแรกในโลกที่ตกแต่งด้วยลักษณะ ของโบสถ์ทางพระพุทธศาสนาเป็นอาคารที่เป็นโบสถ์คริสต์ ผังและแบบของโบสถ์เป็นแบบยุโรป มีซุ้มประตูหน้าต่างเป็น ซุ้มเรือนแก้ว มีเสาปลายเป็นรูปกลีบบัวยาวศิลปะแบบไทย โบสถ์หลังนี้ถือกันว่าเป็นโบสถ์คริสต์ศาสนาหลังแรกในโลกที่ตกแต่งด้วยลักษณะของโบสถ์พุทธศาสนา

 

และทางด้านทิศตะวันออก มีอาคารใหญ่ 2 ชั้น บันไดขึ้นด้านหน้า เป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม แสดงให้เห็นถึงสถาปัตยกรรมแบบยุโรป โดยเฉพาะหน้าต่างและซุ้มประตูเป็นศิลปะแบบเรอเนสซองส์

 

ประวัติเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เกิดที่แคว้นเซฟาโลเนีย (ประเทศกรีซ)  เมื่อ ค.ศ. ๑๖๔๗ (พ.ศ. ๒๑๙๐)  โดยมีเชื้อสายของชาวกรีกและเวนิช เข้าทำงานให้กับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ค.ศ. ๑๖๖๒ (พ.ศ. ๒๒๐๕) ฟอนคอนออกจากบ้าน และเดินเรือสินค้าไปค้าขายยังแดนต่างๆ ค.ศ. ๑๖๗๕ (พ.ศ. ๒๒๑๘) เดินทางมายังสยามในฐานะพ่อค้า เนื่องจากมีความสามารถพิเศษในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างง่ายดาย นอกจากภาษากรีกแล้ว ฟอลคอนมีความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโปรตุเกส ฯลฯ และเรียนรู้การใช้ภาษาไทยอย่างคล่องแคล่วในเวลากี่ปี ต่อมาฟอลคอนเข้ารับราชการในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในตำแหน่งล่ามและเป็นตัวกลางการค้าระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศส จนกระทั่งได้กลายมาเป็นสมุหเสนา ในสมัยพระนารายณ์มหาราชในเวลาอันรวดเร็ว เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ หรือ คอนสแตนติน ฟอลคอน จึงนับเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา

บ้านวิชาเยนทร์ เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา 08.00 – 18.00 น. เว้นวันจันทร์-อังคาร อัตราเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท

 

บ้านวิชาเยนทร์

บ้านวิชาเยนทร์

บ้านวิชาเยนทร์

dew02485

บ้านวิชาเยนทร์ บ้านวิชาเยนทร์

บ้านวิชาเยนทร์

บ้านวิชาเยนทร์

บ้านวิชาเยนทร์

dew02487

dew02484

บ้านวิชาเยนทร์

 

 

วีดีโอท่องเที่ยวลพบุรี

ผู้เขียน

นักเดินทางที่ชอบถ่ายภาพ อยากส่งต่อเรื่องราวของการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน

บทความที่เกี่ยวข้อง