อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน อุตรดิตถ์

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน  เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 2จังหวัด คือ ในอำเภอน้ำปาด อำเภอท่าปลา อำเภอบ้านโคกจ.อุตรดิตถ์ และอำเภอเมือง จังหวัดแพร่  สภาพพื้นที่ยังประกอบไปด้วยป่านานาชนิดที่มีความสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ จุดสูงที่สุดของอุทยานฯ คือ ยอดเขาภูพญาพ่อ สูงถึง 1,350 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งใช้เป็นจุดแบ่งเขตจังหวัดแพร่กับจังหวัดอุตรดิตถ์ ในส่วนพื้นที่ของอุทยานฯในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ มีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ  จุดชมวิวทิวทัศน์ทะเลสาบสุริยันต์จันทรา ที่มีลักษณะเป็นอ่างเก็บน้ำที่รายล้อมด้วยทิวเขาสลับซับซ้อนเหมือนภาพวาด แถมในยามเย็นยังเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกที่งดงามมาก

 

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

 

บริเวณริมอ่างเก็บน้ำซึ่งเป็นน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์  มีเกาะแก่งโค้งเว้า มีทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถชมทัศนียภาพโดยรอบ มีกิจกรรมล่องแพชมทัศนียภาพของเขื่อนฯ และสามารถกางเต้นท์บริเวณนี้ได้ สำหรับสายแคมปิ้งคงฟินไม่น้อย  มองเห็นวิวของภูเขาที่สวยงาม ที่นี่ยังมีนักท่องเที่ยวไม่มากนัก ทำให้บรรยากาศค่อนข้างสงบพอสมควร

 

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

 

เมื่อมองลงไปบริเวณทะเลสาบ จะเห็นแพลอยอยู่หลายหลัง  เป็นแพของชาวบ้านที่เคยอาศัยอยู่ก่อนการสร้างเขื่อนสิริกิตถ์ซึ่งหลังจากเสียที่ดินอาศัย บางส่วนย้ายไปตามที่ทางการจัดสรรที่ดินใหม่ให้ บางส่วนเลือกที่จะอาศัยอยู่ในแพ และประกอบอาชีพประมงหาปลาในเขื่อน

 

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

 

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

 

เดินย้อนขึ้นไปอีกนิดจะมีศาลาชมวิวซึ่งมีระเบียงชมวิวด้วยเหมาะอย่างยิ่งสำหรับยืนชมวิวสูอากาศจากจุดชมวิวของอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่านก็คืออ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ข้างล่างมีลักษณะเป็นเกาะยื่นเข้าไปกลางน้ำ

 

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

ค่าเข้าอุทยานฯ ผุ้ใหญ่ คนละ 20 บาท เด็ก คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 100 บาท เด็ก คนละ 50 บาท
อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน  สำหรับผู้ที่ต้องการพักแรม มีบ้านพักให้บริการนักท่องเที่ยว สำรองที่พักด้วยตนเองที่ http://www.dnp.go.th

การเดินทาง

ระยะทางจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ถึงอำเภอท่าปลา 35 กิโลเมตร ระยะทางจากอำเภอท่าปลา ถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน 14 กิโลเมตร สภาพถนนเป็นถนนลาดยางตลอดเส้นทาง

ผู้เขียน

นักเดินทางที่ชอบถ่ายภาพ อยากส่งต่อเรื่องราวของการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน

บทความที่เกี่ยวข้อง