อยู่และเรียนรู้ธรรมชาติ…บ้านป่าแป๋ แม่สะเรียง

เรื่องราวของการเดินทางที่แสนยาวไกล ผ่านความยิ่งใหญ่ของของทะเลภูเขาที่มีวิวทิวทัศน์ระหว่างทางชวนให้รื่นรมย์  ฉันกำลังนั่งรถโยกไปมาบนถนนที่แสนคดเคี้ยวเข้าสู่เขตพื้นที่ของอำเภอแม่สะเรียง  เพื่อไปยังหมู่บ้านเล็กๆ ที่รายล้อมด้วยผืนป่าเขียวขจีและอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง  เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่การดูแลของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง   ฉันเดินทางไปเพื่อเรียนรู้และท่องเที่ยวแบบวิถีชุมชนโฮมสเตย์ ที่  บ้านป่าแป๋ ชุมชมแห่งความพอดี ที่มีวิถีเคียงคู่กับธรรมชาติ

 

1 cover

 

จากอำเภอฮอด ลัดเลาะภูเขามายังแม่สะเรียงผ่านพ้นเส้นทางคดเคี้ยวหน่วงหนักมาถึงเขตบ้านอมพาย ที่ตั้งของ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง  ซึ่งในเวลานี้งดงามด้วยความเขียวขจีของนาข้าวขั้นบันไดมองเห็นบ้านเรือนของชาวบ้านแทรกตัวอยู่ตามแมกไม้และภูเขาเขียวขจี  ภาพสีเขียวนี้ช่วยคลายความเหนื่อยล้าจากการนั่งรถผ่านหนทางที่ยาวไกลได้มากเลยทีเดียว

 

1 DSC_9862

2 DSC_9864

3 DSC_9865

4 DSC_9866

 

นั่งรถผ่านเส้นทางชวนมึนหัวไปอีกประมาณ 1 ชั่วโมง ฉันมาถึงจุดหมายปลายทางที่เราจะพักค้างใสคืนนี้ บ้านป่าแป๋   ซึ่งหากพูดไปแล้ว ที่นี่ยังเรียกว่าใหม่สำหรับนักท่องเที่ยวมาก  เพราะเพิ่งเปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนแบบโฮมสเตย์ได้ไม่กี่เดือน  ซึ่งชุมชนนี้อยู่ในความรับผิดชอบของโครงการหลวงแม่สะเรียง  หากต้องการมาพักสามารถติดต่อไปโดยตรงที่โครงการหลวง   โฮมสเตย์ที่บ้านป่าแป๋ มีหลายหลัง ขึ้นอยู่กับว่าทางเจ้าหน้าที่จะจัดให้เราไปพักหลังใด  ซึ่งแต่ละบ้านเป็นบ้านไม้ที่ยังคงมีความสะดวก  ข้าวของเครื่องใช้ไม่ถึงกับว่าจะเป็นแบบชาวบ้านซะทีเดียว ส่วนห้องนอนเรียบง่าย  มีที่นอน หมอนมุ้งให้พร้อม  ยังคงมีความทันสมัยของความเป็นเมืองอยู่บ้าง  ไฟฟ้าเข้าถึง ทีวี สัญญาณโทรศัพท์ ทุกอย่างมีหมด

6 DSC_9708

6 DSC_9621

 

วิวที่มองจากในห้องพัก มองเห็นความเขียว วขจีของนาข้าว

 

6 DSC_9669

7 DSC_9665

 

บ้านป่าแป๋  เป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้านยังดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย ดั้งเดิม เน้นใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติที่มีอยู่ในหมู่บ้าน  เช่น ทำนา ปลูกข้าว ปลูกผัก เพื่อรับประทานในครัวเรือน   เพราะฉะนั้นเมื่อเข้ามาในเขตของหมู่บ้านในช่วงฤดูทำนา จะเห็นนาข้าวสวยงามเคียงคู่หมู่บ้าน  รอบตัวบ้านนอกจากปลูกไม้ดอกไม้ประดับ  ยังปลูกผักพื้นบ้านของท้องถิ่นหลายชนิดเพื่อใช้ประกอบอาหาร  เรียกว่า เก็บทานสดๆจากหน้าบ้าน

 

7 DSC_9666

7 DSC_9702

 

จากหลักฐานต่างๆที่พอจะเหลืออยู่ สันนิษฐานได้ว่าหมู่บ้านป่าแป๋นี้ ก่อตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 500 ปี   ส่วนใหญ่คือ ชนเผ่าละเวือะ หรือชื่อทางการว่า  ละว้า  ยังคงดำรงวิถีชีวิตตามแบบอย่างทางด้านสังคมและวัฒนธรรมความเชื่อที่ปฏิบัติกันมาแต่ในอดีต  มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชาติพันธุ์ อาทิเช่น ระบบการทำการเกษตร ระบบการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า พิธีกรรมความเชื่อ การแต่งกาย และภาษาพูดของตนเอง ที่ยังคงใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับการติดต่อสื่อสารทุกรุ่นทุกวัย  ปัจจุบันในชุมชนมีการนับถือศาสนาอยู่ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ซึ่งจะนับถือผีควบคู่ไปด้วย และศาสนาคริสต์ ซึ่งแยกเป็น 2 นิกาย คือ โรมันคาทอลิก และโปรแตสแตนท์

 

8 DSC_9721

9 DSC_9710

10 DEW_2081

 

ชาวบ้านในหมู่บ้านป่าแป๋ ได้อาศัยทรัพยากรท้องถิ่นในการดำรงชีวิตประจำวัน  มีการทอผ้าเป็นเครื่องนุ่งห่มไว้ใช้เอง โดยใช้ดอกฝ้ายมาปั่นเป็นด้ายไว้ทอผ้า มีการนำเอาไม้ไผ่ หวายและเถาวัลย์ มาทำเป็นเครื่องจักรสานใช้ในครัวเรือน และฝึกฝนให้บุตรหลานทำสืบต่อกันมา ให้รู้จักนำสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตประจำวัน

 

11 DSC_9811

 

อาหารมื้อเย็นแบบท้องถิ่น ถูกจัดวางบนโต๊ะอย่างเรียบง่าย  ไข่เจียว ต้มฟักทอง น้ำพริกปลากระป๋อง  พร้อมผักพื้นบ้านเป็นวัตถุดิบทุกอย่างหาได้จากรอบบ้าน  บ้านป่าแป๋ ถือว่าเป็นชุมชน ที่ขึ้นชื่อเรื่องผักสมุนไพรพื้นบ้านต่างๆ  จนมีการทำหนังสือรวมรวมผักพื้นบ้านของที่นี่มาแล้ว   พี่อรุณีเจ้าของบ้านมาดูแลนั่งคุยกับพวกเรา เชื้อเชิญให้ฉันทดลองทานผัก  เริ่มจาก คาวตอง อีเหลือน หอมแป้น  นอกจากหน้าตาที่ไม่ค้อยคุ้นเคยชื่อก็ไม่คุ้นเคยเอาเสียเลย บางคนเห็นอาหารที่ดูแปลกๆ รสชาติแปลกไม่เคยทานก็จะปฏิเสธก่อนเสียแล้ว   แต่ฉันเป็นประเภทกินง่ายอยู่ง่าย ไม่ว่าเดินทางไปยังแห่งหนตำบลใดต้องเข้าถึงเรียนรู้ความเป็นชุมชนนั้นให้ครบ  เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องยากที่ฉันจะทานผักเหล่านี้   และหลังจากได้ลองทานควบคู่กับน้ำพริกอร่อยเข้ากันมาก โดยเฉพาะผักอีเหลือน และคาวตอง มีกลิ่นหอมๆ ฉันติดใจเป็นพิเศษ  พี่อรุณีอัธยาศัยดีและเป็นกันเองและคุยสนุกมาก อธิบายให้ความรู้ถึงผักและเมนูอาหารชนเผ่าต่างๆ แบบได้อรรถรส   ว่าแล้วก็เดินไปหยิบเห็ดโคน ลำต้นอวบใหญ่ให้ดูบอกว่าเพิ่งไปเก็บมา พรุ่งนี้จะทำต้มเห็ดให้ทาน  รวมถึง  น้ำพริกถั่วเน่า และสะเบื้อกไก่ ให้ทาน  ฟังแล้วก็อยากให้ถึงพรุ่งนี้เช้าเร็วๆ

 

12 DSC_9625

12 DSC_9630

13 DSC_9641

 

เช้าวันใหม่ออกมารับอากาศบริสุทธิ์ที่ระเบียงหน้าบ้าน  ฝนที่ลงมาเมื่อคืนทำให้บรรยากาศในเช้านี้แสนสดชื่น

 

15 DSC_9679

16 DSC_9674

 

ได้ยินเสียงทำครัวอยู่ข้างล่าง พี่อรุณีตื่นแต่เช้ามาทำอาหาร  พร้อมเสียงทักทาย  ว่าแล้วก็โชว์ถั่วเน่า ที่บอกว่าถั่วเน่าของที่บ้านป่าแป๋ ต่างจากที่อื่น เพราะที่เราเคยเห็นกันจะเป็นแบบแบนอบแห้งมาแล้ว แต่ของที่นี่นั้น ใช้ถั่วเหลืองมาหมักแช่ไว้ 3 คืน จากนั้นนำมาหมกใส่กระสอบไว้ หากจะรับประทานก็นำมาห่อใบตองแล้วเผาไฟได้ความหอมที่เพิ่มขึ้น

 

17 DSC_9683

18 DSC_9694

 

ระหว่างที่รอพี่อรุณีทำอาหารฉันออกไปเดินเล่นชมบรรยากาศยามเช้าหน้าบ้าน    เสียงเคาะเรียกจากเด็กวัดตัวน้อยดังมาแต่ไกล เป็นสัญญาณให้รู้ว่า พระสงฆ์กำลังเดินใกล้มาถึงหน้าบ้านของท่านแล้ว ให้เตรียมของมาตักบาตรได้เลย เป็นภาพวิถีชีวิตของชาวพุทธในยามเช้าที่อยู่เคียงคู่กับคนไทยทุกชาติ ทุกภาษา

 

20 DSC_9729

21 DSC_9740

 

อาหารแสนอร่อยตามสัญญาของพี่อรุณีที่บอกว่าจะทำเมนูเด็ดของชนเผ่าให้เราทาน  น้ำพริกถั่วเน่า ต้มเห็ดโคน  สะเบื้อกไก่ถูก พร้อมผักพื้นบ้าน  นำมาวางตรงหน้าเรียบร้อยแล้ว ทานสิค่ะจะรออะไร อิ่มท้องไปอีกหนึ่งมือ อาหารท้องถิ่นที่มีรสชาติเฉพาะนี่แหละถูกใจฉันและทำให้เจริญอาหารเป็นที่สุด  ไม่ได้จะหาทานกันได้ง่ายนัก

 

22 DSC_9755

23 DSC_9756

24 DSC_9760

 

เพื่อให้ดูกลมกลืนกับคนในพื้นที่  เลยต้องแปลงร่างแต่งกายด้วยชุดชนเผ่าละว้า เดินเที่ยวชมบรรยากาศในหมู่บ้าน  เครื่องแต่งกายนั้นหยิบยืมจากพี่อรุณีมานั้นเอง ชุดประจำชนเผ่าละว้า  ชนเผ่าละว้าก็มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและมีความงดงามไม่แพ้ชนเผ่าอื่นใด โดยเฉพาะการแต่กายของชนเผ่าละว้าที่มีความโดดเด่นสวยงามและเป็นที่เลื่องลือมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึง ณ ปัจจุบัน  ละว้ามีเครื่องแต่งกายมากมายมีทั้งเสื้อแขนยาว  เสื้อแขนสั้น  กางเกง  กระโปรง  ปลอกแขน  ปลอกขา  สร้อยคอ  ต่างหู ชุดการแต่งกายของละว้า มีวิธีการทอที่ไม่เหมือนกัน  โดยเฉพาะกระโปรงของละว้าจะมีวิธีการทอที่ยากกว่าเครื่องแต่งกายอื่นๆเพราะกระโปรงละว้าจะมีลวดลายสีสันหลากหลายและจะต้องมีความละเอียดเป็นอย่างมากส่วนมากกระโปรงละว้าจะมีสีดำแดงหรือสีดำชมพู  ส่วนเสื้อจะมีอยู่สองสีคือสีขาวกับสีดำจะเป็นเสื้อแขนกุดทั้งสองสี  ส่วนมากแถบด้านข้างจะเป็นสีชมพู

 

25 DEW_2090

 

จุดแรกในหมู่บ้านที่มาเยี่ยมชม สำนังสงฆ์บ้านป่าแป๋  ซึ่งเป็นสำนังสงฆ์เพียงแห่งเดียวในหมู่บ้าน  ที่เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน  ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงสุด มองลงมาเบื้องล่างเห็นหมู่บ้านป่าแป๋แสนสงบ แทรกตัวอยู่ท่ามกลางแมกไม้เขียวขจี

 

25 DSC_9764

25 DEW_2070

26 DSC_9793

 

มีพระอุโบสถแบบศิลปะล้านนาที่งมีลวดลายแกะสลักรอบอุโบสถอ่อนช้อย ภายในมีพระพุทธรูปหินอ่อนสีขาวที่แสนงดงาม

 

26 DSC_9768

27 DEW_2063

28 DSC_9786

 

จากสำนังสงฆ์  เรามาที่ธนาคารข้าวแห่งแรกของโลก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้ชาวละว้า เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนข้าวของราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลัวะ  ให้คนในพื้นที่ได้มีข้าวในการบริโภค และส่งผลถึงพันธุ์ข้าวพระราชทานยังสามารถนำไปปลูกและขยายพันธุ์ เก็บเกี่ยวส่งจำหน่ายให้กับโครงการหลวงมาหลายปี สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ได้อย่างสบาย

 

 

36 DSC_9797

 

ฉันเดินลัดเลาะไปตามหมู่บ้านเพื่อไปยังนาข้าวอันกว้างใหญ่ ที่ตั้งอยู่ด้านหลังหมู่บ้าน  มีบ้านกระท่อมริมนาหลังน้อย สร้างตามรูปแบบบ้านของชนเผ่าละว้าตั้งหลังคาสอบ ใต้ถุนสูง  ไว้ให้คอยพักพิงหลบร้อน หลบฝน   แต่สำหรับฉันและเพื่อนบ้านหลังนี้ คือ มุมถ่ายภาพชั้นดี

 

32 DEW_2161

32 DEW_2147

34 DEW_2129

 

เดินมาถึงหน้าหมู่บ้าน  มีลำธารไหลผ่าน และมีปลาแหวกว่ายเยอะมาก ด้านข้างลำธารยังคงมีพื้นที่นาของคนในหมู่บ้านให้ได้ชม

 

38 DSC_9819

39 DSC_9816

40 DSC_9818

 

บ้านป่าแป๋ หมู่บ้านเล็กๆ ท่ามกลางผืนป่าและสายน้ำ  ที่ฉันอยากให้ทุกคนหลีกหนีความวุ่นวายมาใช้ชีวิตอยู่กับความเป็นธรรมชาติแบบดั้งเดิม  ที่การดำรงชีวิตทุกสิ่งอย่างหาได้จากส่งรอบตัว อยู่เพื่อเรียนรู้ และเข้าใจว่าแท้จริงแล้ว ชีวิตคนเราอาจไม่ต้องการอะไรมากมาย ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ อย่างมีความสุขเช่นกัน

 

41 DEW_2072

42 DSC_9852

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

บ้านป่าแป๋  มีบ้านพักโฮมสเตย์ให้บริการโดยคิดค่าบริการคนละ 150 บาท อาหารมื้อเช้าคนละ 80 บาท มื้อกลางวันคนละ 100 บาท มื้อเย็นคนละ 150 บาท ค่านำชมหมู่บ้านกลุ่มละ 300 บาท  ติดต่อได้ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง  คุณกิ่ง โทรศัพท์ 088 434 4902

 

การเดินทาง

จากจังหวัดเชียงใหม่ ใช้ทางหลวงหมายเลข 108 (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) ถึงแยกกองลอยในเขตอำเภอแม่สะเรียง ราว 180 กิโลเมตร จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1270 อีก 34 กิโลเมตร ถึงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียงที่บ้านอมพาย  จากนั้นไปต่อยังหมู่บ้านป่าแป๋ ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง  เส้นทางเข้าหมู่บ้านเป็นทางลูกรัง หากเป็นฤดูฝน ควรใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ

ผู้เขียน

นักเดินทางที่ชอบถ่ายภาพ อยากส่งต่อเรื่องราวของการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน

บทความที่เกี่ยวข้อง