บ้านห้วยฮ่อม ตั้งอยู่ใน อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเครือข่ายของชุมชนท่องเที่ยว ที่เกิดจากการรวมตัวกันของ 3 หมู่บ้าน คือ บ้าน บ้านห้วยฮ่อม บ้านดอยตุง และบ้านห้วยครก ต. บ้านจันทร์ โดยการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยรีราชมงคล ซึ่งชาวเขาส่วนใหญ่เป็นชาวปกากะญอ ที่เข้ามาอาศัยและตั้งถิ่นฐานจนกลายเป็นหมู่บ้าน มีเรื่องราวของชุมชนที่อยู่คู่กับธรรมชาติ และยังคงใช้วีถีชีวิตแบบดั้งเดิมเป็นอย่างมาก ทั้งวัฒนธรรมการแต่งกาย ความเป็นอยู่ อาหารการกิน ประเพณีและความเชื่อแบบ โบราณ ก็ได้เปิดให้เป็นการท่องเที่ยวชุมชน ที่เปิดโอกาสให้บุคคลที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้และสัมผัสวิถีชุมชน พักโฮมสเตย์และ ทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน
บ้านห้วยฮ่อมเต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ บ้านเรือนของชาวเขาในหมู่บ้านห้วยฮ่อม ยังคงเป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนสูง แบบนี้เกือบทุกบ้าน มีวัดห้วยฮ่อม วัดเพียงแห่งเดียวซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน ชาวบ้านนับถือ 2 ศาสนา คือ พุทธ และคริสต์ แต่ทั้งสองยังกลมกลืนและมีความสามัคคีและเข้าใจกัน เวลามีงานบุญศาสนาคริสต์ก็จะมาช่วย และอย่างมีงานคริสต์มาส ศาสนาพุทธก็มาร่วมด้วยเช่นกัน


ไฮไลต์ของการมาเที่ยวคือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติชมนาข้าวของหมู่บ้าน ซึ่งมีให้ชมในช่วงฤดูฝนประมาณเดือนกันยายน – ตุลาคม จากจุดจอดรถเดินมาประมาณ 200 เมตร เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติเดินเป็นลักษณะวงกลม ประมาณ 1 กิโลเมตร ระหว่างทางเราก็นอกจากจะได้เห็นไร่นาแล้ว ยังได้เห็นแปลงพืชไร่ชนิดอื่นที่ชาวบ้านได้ปลูกไว้ด้วย ลักษณะของพื้นที่นาข้าวตั้ง อยู่รายล้อมกลางหุบเขาปลูกลดหลั่นกันไป แต่ไม่ถึงกับลดหลั่นเป็นขั้นบันไดมากเหมือนแม่แจ่มหรือแม่กลางหลวง นาข้าวของ ชาวบ้านปลูกไว้เพื่อใช้บริโภคกันในครัวเรือน และใช้วิถีการปลูกตามแบบธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีใดๆ ใช้ปุ๋ยธรรมชาติจากเศษใบไม้ มูลสัตว์ น้ำที่ใช้ทำนาก็ใช้น้ำจากภูเขาและลำธารเรียกได้ว่าวิถีชีวิตยังเป็นอะไรที่อยู่กันแบบชาวบ้านจริงๆ ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่า พืชผักที่นำมาใช้รับประทานก็ปลูกเอง ยึดอาชีพเกษตรทำไร่ ทำนาเป็นหลัก แปลงผักบางแปลงก็ปลูกและส่งให้กับโครงการหลวง เรียกได้ว่าวิถีชีวิตของคนที่นี่ยังเป็นอะไรที่อยู่กันแบบชาวบ้านจริงๆ ดำรงชีวิตด้วยการหาของป่า พืชผักที่นำมาใช้รับประทาน ก็หาจากในป่าและตามธรรมชาติปลูกเองเก็บเอง แปลงผักบางแปลงก็ปลูกและส่งให้กับโครงการหลวง สังเกตว่าตลอดที่เราเดินผ่าน นาข้าว จะมีกระท่อมปลายนาอยู่หลายหลังเพราะพื้นที่นาของชาวบ้านจะมารวมอยู่ด้วยกันในจุดนี้โดยแบ่งสันปันส่วนกันไป ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นที่พักพิงหลังจากการทำไร่ทำนาแล้ว ยังใช้ประกอบพิธีเซ่นไหว้ผีที่ดูแลพื้นที่นาของตัวเองอีกด้วย
เส้นทางเข้าหมู่บ้าน
นาข้าวระหว่างทาง
บ้านเรือนของชาวบ้าน
ทางเดินไปนาข้าวขั้นบันได
พิธีเซ่นไหว้ผี
เดินไปชมนาข้าวในมุมสูง
บ้านห้วยฮ่อมสามารถเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ หรือพักค้างคืนอยู่ร่วมกับชาวบ้าน ที่นี่ก็มีทีพักอยู่ประมาณ 4 หลัง พร้อมอาหาร ซึ่ง เป็นเมนูง่าย ๆ น้ำพริก ไข่เจียว ต้มจืดไก่กับแตงกว่า รสชาติอร่อยเลยทีเดียว มีอาหารว่างซึ่ง เป็นอาหารเฉพาะของชนเผ่า ซึ่งมีชื่อว่า เมตอซู วิธีการทำ คือ นำข้าวเหนียวแช่น้ำไว้ 1 คืน จากนั้นใส่น้ำตาลใส่ในฝักดอกกล้วยไม้ ที่หาได้ตามหมู่บ้าน รสชาติก็คล้ายกับทานข้าวหลาม กิจกรรมอื่น เช่น การเรียนรู้เรื่องการทอผ้า ตั้งแต่ขั้นตอนการปั่นด้าย การทอ และการปักผ้า ด้วยลูกเดือย การทอผ้าของที่นี่ ยังเป็นการทอผ้าแบบโบราณแบบใช้กี่เอวหากเรานั่งรถผ่านและมองไปตามแต่ละบ้าน เราจะเห็นว่า แทบทุกบ้านจะมีอุปกรณ์ทอผ้าวางอยู่ ซึ่งการทอผ้าเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ยาจนมาถึงลูกหลาน ผ้าที่ทอก็นำมาใช้ใส่กันเองในครัวเรือน
สำหรับการท่องเที่ยงชุมชนบ้านห้วยฮ่อมจะคิดราคาตามนี้
ค่ารถกระบะนำเที่ยว 1000 บาท นั่งได้ 10 คน (เนื่องจากเส้นทางบางช่วงเมื่อเข้าสู่บ้านห้วยฮ่อม รถตู้หรือรถเก๋งไม่สามารถเข้าได้)
ค่าอาหารกลางวัน 70 บาท/คน
ค่าผู้นำเที่ยว 300 บาท
ค่าอาหารว่างเมตอซู 300 บาท
ค่าประสานงาน 200 บาท
ค่าชมการท่องผ้าของชุมชน 300 บาท
ค่าผู้นำเที่ยวชุมชน 300 บาท/วัน/กลุ่มไม่เกิน 10 คน
โดยสามารถติดต่อได้ที่ คุณฤทธิศักดิ์ หรือพี่เช ประธานกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนเหล่อชอ โทร 080-859-2978
บ้านพักโฮมสเตย์
อาหารกลางวัน
เมตอซู
ติดตามไปด้วยกันใน Facebook 