โฮงเจ้าฟองคำ น่าน

โฮงเจ้าฟองคำ ตั้งอยู่ที่ถนน สุมนเทวราช ซอย 2 อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน สร้างจากไม้สักหลังใหญ่สไตล์ล้านนา บ้านเก่าอายุเกือบ 200 ปี  โฮงเจ้าฟองคำเป็นบ้านของเจ้าฟองคำ เชื้อสายของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชเ จ้าผู้ครองนครองค์ที่ 62  คำว่า “ โฮง ” เป็นคำพื้นเมืองล้านนา หมายถึง คุ้ม หรือที่อยู่อาศัยของเจ้านายล้านนาไท  โฮงเจ้าฟองคำ เป็นบ้านไม้สักยกใต้ถุนสูงรูปแบบล้านนาโบราณ หลังคาทรงจั่วมุงด้วยกระเบื้องดิน ประกอบด้วยเรือน 4 หลัง แบ่งเป็นห้องต่างๆ ทั้งนอน ห้องรับแขก ห้องครัว  ทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยชานและทางเดิน บันไดทางขึ้นบ้านอยู่ด้านหน้ามีหลังคาคลุม สำหรับไม้สักที่ใช้สร้างบ้านนั้น ใช้วิธีการผ่าและซ้อมถากด้วยขวานและมีด การประกอบตัวบ้านจึงไม่ได้ใช้ตะปู แต่จะใช้วิธีเจาะไม้และเข้าไม้โดยใช้สลักไม้  บริเวณหน้าบ้านมีบ่อน้ำ โดยรอบบ้านร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาชนิด

 

DEW 4013

DSC 6350 1

 

พื้นที่ชั้นบนเป็นที่พักอาศัย และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจัดแสดงวิถีชีวิตในอดีตและของโบราณที่มีคุณค่า เช่น เครื่องเงิน และผ้าทอ เป็นต้น  โฮงเจ้าฟองคำเป็นตัวอย่างของการอนุรักษ์บ้านไม้เก่า ด้วยการปรับเปลี่ยนการใช้สอยให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีชีวิตซึ่งมีส่วนช่วยรักษามรดกวัฒนธรรมของชาวน่านโดยเฉพาะการทอผ้าพื้นเมืองไว้ได้อย่างน่าชื่นชม จนได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทบ้านพักอาศัย (คุ้มเจ้า) ประจำปี 2555 จากสมาคมสถาปนิคสยาม

 

DSC 6397

 

DSC 6374 DSC 6366 1

DSC 6363

DSC 6378

 

ห้องนอน 

 

DSC 6368 DSC 6372 

ห้องครัวแบบโบราณ 

 

DSC 6354 DSC 6362

 

 

 

พื้นที่ชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่งสำหรับสาธิตการทอผ้า ตั้งกี่ทอผ้า และจำหน่ายผ้าพื้นเมืองที่ทอที่บ้านหลังนี้

DSC 6388

DSC 6380

DSC 6393 1DSC 6392

 

ประวัติโฮงเจ้าฟองคำ

ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งแต่เดิม คือ คุ้มของเจ้าศรีตุมมา (หลานเจ้ามหาวงศ์เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 6) และอยู่ติดกับคุ้มแก้วซึ่งเป็นที่พำนักของเจ้าผู้ครองนครน่านในเวียงเหนือ เมื่อเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ (เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 12) ย้ายกลับมายังเมืองน่านปัจจุบัน คุ้มแก้วจึงถูกทิ้งร้างไป หลังจากนั้น เจ้าบุญยืน (ธิดาคนสุดท้ายของเจ้าศรีตุมมากับเจ้ามะโน (หลานของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ) ได้ย้ายตัวโฮงลงมาสร้างในพื้นที่คุ้มของเจ้าศรีตุมมา หลังจากนั้นบ้านหลังนี้ได้ตกทอดมายังเจ้าฟองคำ (ธิดาของเจ้าบุญยืนกับเจ้าอินต๊ะ) นางวิสิฐศรี (ธิดาคนสุดท้องของเจ้าฟองคำ) และนายมณฑล คงกระจ่าง ตามลำดับ  ตัวโฮงนี้ เมื่อย้ายมาจากคุ้มแก้วหลังคามุงด้วยแป้นเกล็ด (หรือไม้เกล็ด) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้มีการรื้อและสร้างขึ้นใหม่ โดยใช้กระเบื้องดินขอแทนแป้นเกล็ด และใช้วัสดุเดิมเป็นส่วนใหญ่ แต่เดิมนั้น ไม้ที่ถูกนำมาเป็นวัสดุสร้างตัวบ้านนั้นเป็นไม้สักที่ทำการผ่าและซ้อมถากด้วยขวานและมีด เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีเลื่อยขนาดใหญ่ ดังนั้น การประกอบตัวเรือนจึงไม่ได้ใช้ตะปู แต่จะใช้วิธีเจาะไม้และเข้าไม้ โดยใช้สลักไม้ ซึ่งจะสามารถมองเห็นร่องรอยที่มีเหลืออยู่ในส่วนต่าง ๆ ของตัวบ้าน

โฮงเจ้าฟองคำ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา เวลา 09.00 – 17.00 น. หยุดทุกวัน จันทร์ และอังคาร  ค่าเข้าชมคนละ 20 บาท โทร 054 710  537  , 089-560-6988

 



ผู้เขียน

นักเดินทางที่ชอบถ่ายภาพ อยากส่งต่อเรื่องราวของการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน

icon folderหมวดหมู่