อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง 

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินพนมรุ้ง  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 77 กิโลเมตร  เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเขาพนมรุ้งยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตรจากพื้นราบ คำว่า พนมรุ้ง มาจากภาษาเขมร คำว่า วนํรุง แปลว่าภูเขาใหญ่ สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณที่มีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่ง ปราสาทหิน พนมรุ้งเป็นหนึ่งในปราสาทหินขอมของไทยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์

 

DEW 6365

 

ปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะ ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะ พระองค์ที่ประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส ดังนั้นการที่ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นบนยอดเขาพนมรุ้ง จึงเป็นการสะท้อนถึงการนับถือ ศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายได้เป็นอย่างดี เขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะ องค์ประกอบและแผนผังของ ปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นแนวเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลาง นั่นคือปราสาทประธาน ซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสนสถานมีอาคารที่เรียกว่าพลับพลา อาคารนี้อาจจะเป็นอาคารที่เรียกกัน ในปัจจุบันว่าพลับพลาเปลื้องเครื่องซึ่งเป็น ที่พักจัด เตรียมองค์ของพระมหากษัตริย์ ก่อนเสด็จเข้าสู่การสักการะเทพเจ้าหรือประกอบ พิธีกรรมในบริเวณศาสนสถาน

 

DEW 6349

DEW 6351

 

สะพานนาคราช

ทางเดินไปยังตัวปราสาท ประดับด้วยเสามียอดคล้ายดอกบัวตูม เรียกว่าเสานางเรียงจำนวนข้างละ 35 ต้น ทอดตัวไปยังสะพานนาคราช ซึ่งผังกากบาทยกพื้นสูงราวสะพานทำเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพานมีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปดในศาสนาฮินดู หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐาน จากสะพานนาคราชชั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้นขึ้นไปยังลานบนยอดเขา ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชชั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกัน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลาน ปราสาทแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นอยู่เป็นช่วง ๆ มีซุ้มประตูกึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้ม กากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอก มีภาพจำหลักรูปฤๅษีซึงหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย

DSC 6585

 

ปราสาทประธาน

ประกอบด้วยตัวปราสาทประธานซึ่งตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือ ห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธาน ตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุนก่อด้วยหินทรายสีชมพู มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อ ด้านหน้าทำเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานนี้ เชื่อว่าสร้างโดยนเรนทราทิตย์ซึ่ง เป็นผู้นำปกครอง ชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ภายในเรือนธาตุตรงกึ่งกลาง เรียกว่าห้องครรภคฤหะ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุด ในที่นี้คือ ศิวลึงค์ซึ่งแทนองค์พระศิวะ เป็นที่น่าเสียดายว่าประติมากรรมชิ้นนี้ได้สูญหายไป เหลือเพียงแต่ท่อโสมสูตร คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงจากการสักการะศิวลึงค์เท่านั้น

 

DEW 6361

DEW 6369

DSC 6599

นอกจากความสวยงามของตัวปราสาทแล้ว ยังได้เพลิดเพลินไปกับการชมศิลปะขอมโบราณ ผ่านภาพแกะสลักโบราณที่ปราณีตละเอียดอ่อน ของหน้าบันและทับหลัง มีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่น ศิวนาฏราช (ทรงฟ้อนรำ) ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์อวตารของ พระนารายณ์ เช่น พระรา(ในเรื่องรามเกียรติ์) หรือพระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤๅษีเป็นต้น โดยเฉพาะ ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นทับหลังที่ถูกขโมยไปเมื่อราวปีพ.ศ. 2503และได้กลับคืนมาในปีพ.ศ. 2531

 

DSC 6597

DSC 6606

DSC 6614

DSC 6617

 

 

ปราสาทอิฐสององค์และปรางค์น้อย

ทางเดินด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธานมีปราสาทอิฐสององค์และปรางค์น้อย จากหลักฐานทาง ด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กล่าวได้ว่าปราสาททั้งสามหลังได้สร้างขึ้นก่อนปราสาทประธานราวพุทธศตวรรษที่ 15 และ 16 ตามลำดับ ส่วนทางด้านหน้าของปราสาทประธาน คือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารสองหลังก่อด้วยศิลาแลง เรียกว่าบรรณาลัยซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนา นอกจากนี้ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐ ซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธาน และที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกันกับพลับพลาที่สร้าง ด้วยศิลาแลงข้างทางเดินที่เรียกว่า รงช้างเผือก

 

DEW 6375

 

ในวันที่ 3-5 เมษายน และ 8-10 กันยายน ของทุกปี ดวงอาทิตย์ขึ้น ส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน ช่องชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้น มาเพื่อชม ความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน นอกจากนี้ในวันที่ 6-8 มีนาคม และ 6-8 ตุลาคม ของทุกปี ดวงอาทิตย์จะตกส่องแสงลอดประตูทั้ง 15 บาน เช่นกัน มีความเชื่อกันว่าปรากฏการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์อันศักดิ์สิทธิ์ การรับแสง อาทิตย์ที่สอดส่องผ่านศิวลึงค์ ซึ่งตั้งอยู่กลางปราสาทเขาพนมรุ้ง เป็นการเสริมพลังชีวิตและความเป็นสิ่งมงคลกับตนเองและครอบครัว ของผู้ที่พบเห็น

 

การเดินทางไปชมปราสาทหินพนมรุ้ง

ในกรณีที่ท่านมิได้นำรถยนต์ไปเอง ต้องใช้บริการของบริษัทขนส่ง จำกัด แล้วลงที่อำเภอนางรอง จะมีรถสองแถวรับจ้างเหมาขึ้นปราสาทพนมรุ้ง คันละประมาณ 200-300 บาท เมื่อไปถึงปราสาทพนมรุ้งสามารถขึ้นได้ 2 ทาง คือ ด้านหน้าปราสาทโดยจอดรถไว้ที่ลานจอดรถแล้วเดินขึ้นบรรไดไปประมาณ 400 เมตร และอีกทางคือด้านหลังตัวปราสาทต้องนำรถขึ้น โดยเสียค่าบริการ แล้วเดินขึ้นไปนิดเดียวประมาณ 100 เมตร ซึ่งจะเดินน้อยกว่าขึ้นด้านหน้า

 



ผู้เขียน

นักเดินทางที่ชอบถ่ายภาพ อยากส่งต่อเรื่องราวของการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน

icon folderหมวดหมู่