ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ 

ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบุรีรัมย์ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่เคารพสักการะและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง สร้างด้วยศิลปะกรรมที่สวยงาม ในรูปแบบศิลปะขอมโบราณที่เลียนแบบมาจากปราสาทหินพนมรุ้ง เพื่อเป็นการบ่งบอกเอกลักษณ์และตัวตนของคนชาวบุรีรัมย์ได้อย่างชัดเจน และที่สำคัญเป็นการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามไว้ในคนรุ่นหลังได้สืบทอดกันต่อไป

 

 

บริเวณศาลหลักเมืองแห่งนี้ เคยเป็นจุดที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ใช้เป็นจุดพักรบ และเห็นว่าบริเวณนี้เป็นทำเลที่เหมาะสม มีสระน้ำ มีต้นแปะ ขนาดใหญ่ เลยโปรดเกล้าให้ตั้งชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองแปะ” ก่อนที่จะมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองบุรีรัมย์

 

 

ลักษณะของศาลหลักเมืองจะเป็น เหมือนองค์ปรางค์มียอดทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นประดับกรีบขนุน และ เทพประจำทิศเพื่อปกป้องรักษาทิศต่างๆ องค์เรืองธาตุเป็นที่ ประดิษฐานพระหลักเมืองชักมุมออกทั้ง 4 ด้าน อันเป็นความหมายถึงการกระจายความเป็นหลักฐานความมั่นคงออกไปทั้ง 4 ทิศ ส่วนยอดศาลพระหลักเมืองติดตั้งรูปดอกบัวเป็นสเตนกลาสประดับทองเพื่อนำแสงเข้าสู่หลักเมือง ภายในตัวศาลได้ตั้งเสาหลักเมือง ตรงกลางองค์ปรางค์ พร้อมกับอันเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระเสื้อเมือง เทพารักษ์และพระทรงเมืองเพื่อมาปกปักษ์รักษาคุ้มครอง ป้องกัน ให้บ้านเมือง อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข

 

 

ความแปลกประการหนึ่งคือ เสาหลักเมืองบุรีรัมย์มีอยู่ 2 ต้น มีข้อสันนิษฐานว่า เสาต้นที่ 1 (ต้นเอียง) เป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อสร้างเมืองแปะ ส่วนเสาหลักเมืองต้นที่ 2 น่าจะเป็นเสาหลักเมืองที่ตั้งขึ้นเมื่อมีฐานะเป็น จังหวัดบุรีรัมย์และสร้างใกล้ชิดติดกัน ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์  เปิดให้คนทั่วไปเข้าไปสักการะกันได้ตั้งแต่ 6 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น ภายในอนุญาติให้ถ่ายภาพได้ 

 

 

ด้านข้างศาลหลักเมืองยังมีศาลเจ้าจีน เพื่อให้ชาวไทยเชื้อสายจีนได้มากราบไหว้ในบริเวณเดียวกัน

 


ผู้เขียน

นักเดินทางที่ชอบถ่ายภาพ อยากส่งต่อเรื่องราวของการท่องเที่ยว จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน